ที่มาของ วิทยุชุมชนโยนกนคร

       จากรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มาตรา 40  กำหนดไว้ในมาตรา 40 ว่า" .... คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุ กระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรการสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ ให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระจัดสรรคลื่นความถี่ตามวรรคหนึ่ง และกำกับดูแลการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ การดำเนินการตามวรรคสองต้องคำนึงประโยชน์ของประชาชน ในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์อื่นรวมทั้งการแข่งขันเสรีอย่าง เป็นธรรม...." โดยจัดสรรให้ภาคประชาชนมีสิทธิใช้สื่อ 20 % ส่วนภาครัฐ 40% และเอกชน 40%        เพื่อให้ประชาชน และชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียง มีศูนย์กลางในการสื่อสารอย่างทั่วถึง ทางคณะผู้ก่อตั้ง ได้รวบรวมกลุ่มองค์กรต่างๆ ในเขตเทศบาลตำบลจันจว้า ประกอบไปด้วย กลุ่ยุวชนและกลุ่มเยาวชน เครือข่ายอาชีพ ศูนย์ถ่ยทอดเทคโนโลยีการเกษตร อาสาสมัครต่างๆและกลุ่มผู้สูงอายุ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้สื่อวิทยุและเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการต่างๆของชุมชน ด้านความบันเทิง การศึกษา ศาสนา ด้านสาธารณสุขตลอดถึงการพัฒนาสังคม โดยนำเอาศักยภาพของกลุ่มต่างๆ ในชุมชน ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนในท้องถิ่นผ่านสื่อวิทยุชุมชน
     เพื่อให้เป็นจริง จึงมีการระดมทุนจากสมาชิกและผู้มีอุปการะคุณที่ให้การสนับสนุน ตั้งแต่ วันที่ 27 ธันวาคม 2547 ณ วัดป่าบงหลวง ต.จันจว้าใต้ จนถึงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2548 ได้เริ่มออกอากาศครั้งแรก บนความถี่ FM.103.50 MHz. และเข้าร่วม โครงการจุดปฏิบัติการเตรียมความพร้อมวิทยุชุมชน ของกรมประชาสัมพันธ์ เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2548

เป้าหมาย
     -.ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลจันจว้า และประชาชนพื้นที่ใก้ลาเคียง
วัถุประสงค์
     - เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ข้อมูลข่าวสาร ของชุมชน
     - เพื่อการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม สังคม และภูมิปัญญาทัองถิ่น
     - เพื่อการอนุรักษ์ พัฒนา ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี
     - เพื่อการกระจายข้อมูข่าวสาร และส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาลกับประชาชน
ขอให้เจริญยิ่งๆขึ้นไป

วิทยุชุมชน โยนกนคร FM.103.50 MHz.

        โยนกนคร เป็นชื่อของมหานครที่รุ่งเรืองในอดีต วันหนึ่งณ วันหนึ่ง ในสมัยของเจ้าไชยชนะ ปี พ.ศ. 996 เหล่าข้าราชบริพารของพระองค์ได้พากันออกล่าสัตว์ป่าตามปกติ และได้พบปลาไหลเผือกขนาดใหญ่ตัวหนึ่งที่แม่น้ำกก มีลำตัวขนาดเท่าต้นตาล จึงได้ช่วยกันทุบตีและจับปลาไหลเผือกตัวนั้นไว้ให้ได้และช่วยกันลากมาถวายแก่เจ้าไชยชนะ ซึ่งเจ้าไชยชนะรู้สึกยินดีและแปลกประหลาดใจที่ได้เห็นปลาตัวใหญ่ขนาดนั้น พระองค์จึงทรงสั่งให้ฆ่าแล้วชำแหละเนื้อแจกจ่ายกันกินโดยทั่วทั้งเมืองในเย็นวันนั้นในส่วนของเจ้าไชยชนะก็ได้ร่วมเสวยกับเหล่าข้าราชบริพารที่ใกล้ชิดภายในตำหนักของพระองค์นครโยนกถึงกาลวิบัติ  ล่มสลายกลายเป็นหนองน้ำ เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อนก็บังเกิดขึ้น
        หลังจากที่เจ้าไชยชนะและเหล่าบริพารได้ร่วมกันทานเนื้อปลาไหลเผือกยักษ์อย่างเอร็ดอร่อยและสนุกสนานภายในตำหนัก ท้องฟ้าเริ่มมืดฟ้ามัวฝน เกิดเสียงฟ้าอืดดอยคราง เป็นสัญญานแห่งความหายนะมาเยือน โดยตอนปฐมยามของคืนนั้นก็เกิดฝนตกหนัก พายุแรง ฟ้าผ่า ฟ้าคะนอง เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน เป็นที่น่าหวาดกลัวยิ่งนัก ผ่อนเบาลงเป็นบางครั้ง
        พอถึงมัชฌิมยาม เหตุการณ์ก็เริ่มทวีความรุนแรงขึ้นกว่าเดิม ครั้นพอถึงปัจฉิมยามเหตุการณ์ทุกอย่างก็หาได้ทุเลาลงไม่ ฟ้าส่งประกาย ภูดอยทั้งหลายส่งเสียงลั่นสั่นสะเทือนไปทั่วทั้งนคร
เกิดการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติครั้งยิ่งใหญ่ นำความหายนะมาสู่นครโยนก จนทำให้นครโยนกล่มสลาย กลายเป็นหนองน้ำไปในชั่วพริบตา ซึ่งหลักฐานต่าง ๆ ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ทุกวันนี้ (เหลือแต่ บ้านแม่หม้าย ที่ชาวบ้านไม่ให้กินเนื้อปลาไหล ปัจจุบันเป็นวัด"ทศพลญาน" หรึอวัด ปางมะหน่อ บ้านห้วยน้ำราก ตำบลจันจว้า อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ซึ่งยังมีรายระเอียดอีกมากมายติดตามประวัติได้ที่

http://203.172.208.187/jjw2010/index.php?name=page&file=page&op=janjawacenter