ประชุม การอนุรักษ์พันธุ์พืชท้องถิ่น ลุ่มน้ำแม่สลอง แม่น้ำจัน แม่น้ำคำ

ความหลากหลายทางพันธุ์พืชลุ่มสายน้ำ อำเภอแม่จันที่ทุกคนมองข้ามและกำลังจะลืม

         ลุ่มน้ำแม่สลอง แม่น้ำจัน แม่น้ำคำ ล้วนเป็นสายใยเดียวกัน น้ำแม่สลองจะไหลไปรวมกับแม่น้ำจัน และไปรวมกับแม่น้ำคำที่อำเภอเชียงแสน (พื้นที่ลุ่มน้ำแม่คำ) แล้วไหลไปลงแม่น้ำโขงที่บ้านสบคำ อ.เชียงแสน ความหลากหลายทางพันธุ์พืชท้องถิ่นที่อุดมสมบูรณ์ บนอานาจักรที่รุ่งเรืองมาในอดีต(เมืองโยนกนครชัยบุรีศรีช้างแส่น) ปัจจุบันคงเหลือแต่ชื่อ(ข้าวดอหมาตื่น) ความประพับใจ(ข้าวเหนียวเขี่ยวงู ข้าวซิวแม่จัน)
        กลุ่มอนุรักษ์พันพืชท้องถิ่นแม่จันจึงเกิดขึ้น โดยมีชมรมผู้สูงอายุอำเภอแม่จัน กลุ่มผู้ใช้น้ำและมูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา(พชภ.) ได้เปิดวงเสวนาเมื่อวันที่ 17 สค. 2553 ที่ผ่านมาในหัวข้อ พันธุ์ข้าวบ้านเฮา ต.ป่าตึง อ.แม่จัน และมีการผลักดันให้เกิดการประชุม การอนุรักษ์พันธุ์พืชท้องถิ่น ลุ่มน้ำแม่สลอง แม่น้ำจัน แม่น้ำคำ ในวันที่ 25 พค.2553 ณ หอประชุม ICT.โรงเรียนบ้านแม่จัน(เชียงแสนประชานุสาสน์) ต.แม่จัน อ.แม่จัน จ.เชียงราย เพื่อจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์พันพืชท้องถิ่นแม่จันและทิศทางในการดำเนินการต่อไป โดยมีนายอภิรักษ์ ศักดิ์สนิท นายอำเภอแม่จัน ให้เกียรติมาเป็นประธาน

ทางกลุ่มผู้ใช้น้ำรับฟังคำชี้แจง เรื่องการทำประปาภูเขาบ้านแสนใหม่

ทางกลุ่มผู้ใช้น้ำจันยื่นหนังสือร้องเรียนถึงนายอำเภอแม่จัน เรื่องการทำประปาภูเขาบ้านแสนใหม่
กลุ่มผู้ใช้น้ำแม่จัน รับฟังคำชี้แจงจากรองนายก อบต.ป่าตึง และพ่อหลวงชัยวัตน์  บ้านสันติสุขเรื่องการนำน้ำประปาภูเขา จากบ้านแสนใหม่(สาขาบ้านสันติสุข)  นำไปใช้ที่บ้านสันติสุข ระยะทางประมาณ 2,500.00 เมตร โดยใช้ท่อ PVC. ขนาด 4”- ½” แต่ผลปรากฏว่าท่อประปา PVC. ทนแรงดันของน้ำไม่ได้(แรงดันน้ำมากเกินไปหรือท่อไม่มีคุณภาพ) เพราะปลายท่อบริเวณนี้น้ำแรงมาก จะทำให้หน้าดินพังทลายจึงได้นำน้ำไปใชในสวนส้มของชาวบ้านชั่วคราว และทางหมู่บ้านได้ทำโครงการของบประมาณเพิมเติม โดยเปลี่ยนเป็น ท่อ GSP. ขณะนี้กำลังดำเนินการ
                ในทีประชุมจึงเสนอให้ ทำการปล่อยน้ำลงในแม่น้ำจันเหมือนเดิม จนกว่าจะได้ท่อ GSP.มาเปลี่ยน

ฟางและตอซังข้าวมีประโยชน์ไม่ควรจะเผาทิ้ง

          เกษตรจังหวัดเชียงราย แนะนำใช้ประโยชน์จากฟางและตอซังข้าวไม่ควรจะเผาทิ้ง
นายสมชาย วงศ์ศรีวิวัฒน์ เกษตรจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า ขอแนะนำให้เกษตรกรและประชาชนใช้ประโยชน์ของการใช้ฟาง และตอซังข้าว ไม่ควรจะเผาทิ้ง นำมาทำให้เกิดประโยชน์ ด้วยการทำเป็นปุ๋ยโดยการไถกลบตอซังและฟางข้าวลงไปในดิน ช่วยในการปรับปรุงคุณภาพของดิน ทำให้ดินมีความโปร่ง ร่วนซุยของดินเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุให้กับดิน ใช้เป็นอาหารสัตว์ ของโค กระบือ ให้นำฟางข้าวสดให้สัตว์กิน ใช้ทำเป็นปุ๋ยคอก ใช้ฟางข้าวนำไปรองคอกสัตว์เมื่อฟางข้าวสลายรวมตัวกับมูลสัตว์ จนกลายเป็นปุ๋ยคอก นำฟางข้าวไปทำปุ๋ยหมัก ด้วยใช้ฟางข้าวไปทำเป็นปุ๋ยหมัก ร่วมกับมูลสัตว์ต่าง ๆ จะกลายเป็นปุ๋ยหมักอย่างดี ใช้ฟางข้าวคลุมดินในการปลูกพืช เพื่อช่วยรักษาความชื้นในดิน ทำให้เมล็ดพืชงอกเร็วขึ้นและแข็งแรง ใช้ตอซังและฟางข้าวเป็นวัสดุสำหรับเพาะเห็ดฟางและใช้ในการก่อสร้าง ให้นำฟางข้าวมาผลิตแผ่นฟางซีเมนต์หรือให้ทำวัสดุมุงหลังคา ดังนั้น ขอให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์จากฟางและตอซังข้าวให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด ไม่ควรจะเผาทิ้ง จะทำให้มีผลกระทบตามมาอย่างมากมาย อาทิเช่น ทำลายสิ่งแวดล้อม เกิดหมอกควัน ทำลายโครงสร้างดินอีกด้วย