84 ตำบลวิถีพอเพียง 5 ธค.52

         ตำบลจันจว้าใต้เป็น 1 ใน 84 ตำบลวิถีพอเพียง ที่ ปตท.หนุนเสริม เทศบาลตำบลจันจว้าช่วยสร้างความแข้มแขง 84 ตำบลวิถีพอเพียงเป็นกำลังใจ และชาวจันจว้าเป็นผู้ลงมือทำ โดยมีความหมายที่ว่าพอเพียงคือ

*ประหยัด เอามื้อ เอาแฮง ช่วยเหลือกันและกัน ทำงานเป็นหมู่
*ฮู้ตั๋ว ฮู้ตน ฮู้เหตุผล ฮู้ผล ฮู้รายรับ-รายจ่าย ฮู้แยกแยะและประมานตน
*เป็พี่เป็นน้อง เป็นแบบอย่างที่ดี
*เดินตามฮอยฮีดบรรพบุรุษ ใช้ฐานท้องถิ่นยึดถือ ระมัดระวังการดำรงค์ชีวิต และปรับตัวให้เหมาะสมในท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์
*พอเพียงในกำกึ๊ดและจิตในตัวเฮา
*เปียงตัวเก่า แล้วปอ
เป็นธงนำในการเดินทางสู่ ตำบลวิถีพอเพียง

วิถีพอเพียงเพื่อพ่อ

       ตลอดระยะเวลา 30 ปี ปตท. ในฐานะบริษัทพลังงานของไทย ยึดมั่นในเจตนารมณ์ดำเนินธุรกิจควบคู่กับการดูแลสังคม และสิ่งแวดล้อม (Corporate Social Responsibility : CSR) โดยยึดถทอการพัฒนาตามรอยเบื้องพระยุคลบาทของพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยการน้อมนำแนวพระราชดำริมาประพฤติและปฏิบัติเป็นแนวทางในการทำงานในทุกด้านด้วยปณิธานที่ยึดมั่นในการทำความดี รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการ ด้วยเชื่อมั่นว่า พลังความมุ่งมั่น ตั้งใจและทุ่มเทที่จะทำงานเพื่อคนไทยอย่างจริงจัง จะช่วยเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนให้สังคมไทยมีความมั่นคงแข็งแรงจะช่วยให้ลูกหลานไทยทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีเท่าเทียมกะน และเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 80 พรรษา ปตท. จึงถือเป็นปฐมฤกษ์ในการเปิดตัวโครงการ “รักษ์ป่า สร้าง 84 ตำบล วิถีพอเพียง” ด้วยการน้อมนำแนวพระราชดำริเรื่องปรัชญาเศรษกิจพอเพียงมาปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมในตำบลต่างๆ โดยมีเป้าหมาย 84 ตำบลทั่วประเทศ เพื่อน้อมเกล้าถวายในปี 2554 ในวโรกาศที่จะทรงเจริญพระชนมายุครบ 7 รอบ หรือ 84 พรรษา

        ที่สำคัญโครงการนี้เป็นการสานต่อจากโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ 1 ล้านไร่ ที่ได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อปี 2545 ที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จและได้รับการยอมรับในการดูแลรักษาป่าอย่างต่อเนื่อง ด้วยการพัฒนาที่จิตใจของชุมชนให้รักษ์ป่าและพัฒนาตนเองได้อย่างเข้มแข็งภายใต้วิถีพอเพียง อีกทั้งเป็นการสานต่อจากบทเรียนในการดำเนินงานโครงการรางวัลลูกโลกสีเขียวร่วมกับเครือข่ายสังคมชุมชน ในการเฟ้นมาคนดี ที่ดูแลสิ่งแวดล้อม ดูแลดิน น้ำ ป่า ด้วยการมอบรางวัลเพื่อให้เป็นกำลังใจ

วัตถุประสงค์โครงการ
1. เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2554 ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 7 รอบ หรือ 84 พรรษา
2. เพื่อน้อมนำกระแสพระราชดำริ “เศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นหลักปฏิบัติให้แก่ชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมครอบคลุมในทุกด้าน เกิดผลเป็นต้นกล้า
3. ต้นแบบของชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง
4. เพื่อดำเนินโครงการต่อเนื่องจากโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ 1 ล้านไร่ของ ปตท. มาสู่การพัฒนาคน พัฒนาชุมชนใน 84 ตำบล ทุกภูมิภาคทั่วประเทศที่เข้าร่วมโครงการให้เป็นชุมชนต้นแบบที่มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจพลังงานสังคม ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ทั้งยังสามารถขยายผลไปยังชุมชนอื่นๆ ต่อไป
5. เพื่อป้องกันพลังสร้างสรรค์ในการพัฒนาสังคมไทยให้เติบโตอย่างมั่นคง ยังยืน อยู่รอดได้ในทุกสถานการณ์ แม้ว่าจะเกิดความผันผวนทางเศรษกิจในอนาคตหลักในการดำเนินงาน

การขับเคลื่อนการทำงานตลอดทั้งโครงการ ต้องยึดหลักการร่วมกันดังนี้
1. น้อมนำพระราชดำริ “ปรัชญาพอเพียง” มาเป็นแนวปฏิบัติ
2. ดำเนินงานด้วยความต้องการของชาวบ้านและชุมชนเป็นหลัก
3. การมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทุกขั้นตอน
4. ไม่เน้นเงินนำหน้า เน้นสร้างความรู้ให้เกิดในชุมชนและยั่งยืน
5. สรุปเป็นองค์ความรู้ของชุมชนร่วมกับ กลุ่ม ปตท. และเครือข่าย

84 ตำบลมาจากไหน
การคัดเลือกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. จากหมู่บ้าน ปตท. เครือข่ายรางวัลลูกโลกสีเขียวชุมชนใกล้หน่วยงาน ปตท. และกลุ่ม ปตท. เครือข่ายประชาสังคม สวทช. ฯลฯ
2. เปิดรับสมัครด้วยความสมัครใจของแต่ละตำบลโดยต้องผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการที่ปรึกษาที่ ปตทง จัดตั้งขึ้น โดยแต่ละตำบลที่เข้าร่วมโครงการต้องมีหมู่บ้านมากกว่าร้อยละ 50 พร้อมเข้าร่วมกิจกรรมหรือมีผู้นำชุมชนที่พร้อมจะเข้าร่วม หรือมีชุมชนสนับมนุนและมีปัจจัยเงื่อนไขที่เหมาะสมตามที่กำหนด

เป้าหมายของโครงการ
        ปตท. และกลุ่มภาคีเครือข่ายได้ศึกษาเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ กับชุมชนเพื่อกำหนดเป็นเป้าหมายและแนวทางในการดำเนินงานเพื่อให้ทุกขั้นตอนสอดคล้องและไปในทิศทางเดียวกัน โดยได้เป้าหมายร่วมกัน 8 เป้าหมาย เพื่อสร้างเป็นองค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง

เครือข่ายองค์กรลุ่มน้ำแม่จัน–แม่สลอง



        โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรชุมชนลุ่มน้ำแม่จัน – แม่สลอง ในการอนุรักษ์ดิน น้ำ ป่า และเศรษฐกิจพอเพียง เป็นโครงการที่ดำเนินการต่อจากโครงการพัฒนาศักยภาพองค์กรชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากร ธรรมชาติในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่จัน ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อม ระยะเวลาดำเนินงาน 3 ปี (ตั้งแต่ปี 2546– 2549) ซึ่งผลจากการดำเนินโครงการในช่วงที่ผ่านมา ได้มีการทำงานเสริมสร้างการพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนราชการ และภาคเอกชน ให้มีบทบาทในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้ำแม่จัน ด้วยการให้ความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรดิน น้ำ ป่า และสิ่งแวดล้อมของชุมชน ควบคู่กับการจัดการพื้นที่ทำกินและลดการใช้สารเคมีในพื้นที่เกษตรของชุมชน ดังนั้น เพื่อให้การทำงานพัฒนาศักยภาพขององค์กรชาวบ้านให้มีบทบาทในการทำงานด้านการจัดการทรัพยากรดิน น้ำ ป่า มีการขยายผลการทำงานไปสู่ลุ่มน้ำแม่สลองที่มีสภาพพื้นที่คล้ายคลึงกัน อันจะส่งผลในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นในระยะยาวอย่างยั่งยืน จึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายองค์กรชุมชนลุ่มน้ำแม่จัน – แม่สลอง เพื่อให้เกิดกระบวนการทำงานที่มีความต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป วัตถุประสงค์ 1 เพื่อส่งเสริมและพัฒนากลุ่มองค์กรชุมชนในการอนุรักษ์ดิน น้ำ ป่า โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ 2 เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ และเกษตรอินทรีย์ 3 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มเด็กและเยาวชนในการจัดกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ ดิน น้ำ ป่า และหลักเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรอินทรีย์ในโรงเรียน 4 เพื่อพัฒนาศักยภาพองค์กรท้องถิ่นในการจัดทำแผนพัฒนาด้านการอนุรักษ์ ดิน น้ำ ป่า และเศรษฐกิจพอเพียง 5 เพื่อรณรงค์เผยแพร่แนวคิด และวิธีการอนุรักษ์ดิน น้ำ ป่า และเศรษฐกิจพอเพียง วันที่ 10 มิย. 2553 เจ้าหน้าที่โครงการกรมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ติดตามประเมินผล โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรชุมชนลุ่มน้ำแม่จัน – แม่สลอง ในการอนุรักษ์ดิน น้ำ ป่า และเศรษฐกิจพอเพียง มีการพูดคุยและให้คำแนะนำในการทำงาน และตัวแทนของกลุ่มผู้ใช้น้ำ โดยมี นายรัตน์ สิริ ประธานกลุ่มเหมือง และตัวแทนฝาย ผู้ใช้น้ำแม่จัน ให้ข้อมูลผลงานที่ผ่านมา และนายสุพจน์ หลี่จา เราขาธิการมูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา ร่วมให้ข้อมูลและนาำดูผลงานที่ผ่านมา ทางคณะติดตามประเมิงงานของกรมฯ ได้ใหความสำคัญต่อการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำป่า และได้ให้ข้อคิดถึงความสำคัญของความมั่นคงทางอาหาร โดยเฉพาะพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน และพันธุ์ข้าวของพืี่น้องชนเผ่า อำเภอแม่จัน

โฉนดชุมชนและธนาคารต้นไม้

          นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในระหว่างเป็นประธานเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง "การกระจายการถือครองที่ดินในรูปแบบโฉนดชุมชน" และมอบนโยบายแนวคิดโฉนดชุมชน วานนี้ (28 ส.ค.) ว่า เกษตรกรของประเทศส่วนใหญ่ ต้องการที่ดินทำกิน ซึ่งรัฐบาลมองว่า อนาคตเศรษฐกิจไทยต้องกลับมาอาศัยความเข้มแข็งของภาคเกษตร ทั้งการผลิตอาหารและพลังงานทดแทน ดังนั้น จึงกำหนดแนวทางแก้ปัญหาที่ดินทำกิน เป็นนโยบายสำคัญ และไม่ใช่เฉพาะกรรมสิทธิ์ถือครองที่ดินเท่านั้น แต่ต้องหาวิธีทำให้ประชาชนในชุมชนเข้มแข็งด้วย ซึ่งแนวคิด โฉนดชุมชน ที่กำลังผลักดันนี้จะเป็นแนวทางที่ทำให้รัฐบาลคล่องตัว ในการแก้ปัญหาที่ทำกินในหลายพื้นที่ได้มากขึ้น และเป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

        เทศบาลตำบลจันจว้าร่วมกับ มูลนิธิพัฒนชุมชนและเขตภูเขา เตรียมให้ความรู้เรื่อง โฉนดชุมชน ธนาคาต้นไม้ และการปลูกหญ้าแฝก แก่ ปชช.และผู้สนใจ โดยเฉพาะ ปชช.พื้นที่โดยรอมเมืองหล่ม(โยนกนครชัยบุรีศรีช้างแส่น) ตามเจตนาของรัฐบาล ในวันที่ 21 มิถุนายน 2553 เงลา 09.00 น.- 12.00 น. ณ สวนสาธารณะหนองมโนราห์

         ป้ามาลา ตำบลป่าตึงให้ความสนใจธนาคารต้นไม้ และจะชวนเพื่อนจัดตั้งธนาคารต้นไม้แน่นอน
          โดยมี คุณธีรพันธุ์ จากมูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา ให้ความรู้เรื่องโฉนดชุมชน



 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ประธานฝายผาม้า ฝายลูกแรกของแม่น้ำคำซักถาม อ.บรรดล แก้วชูพันธุ์  ประธานธนาคารต้นไม้จังหวัดเชียงราย ด้วยความสนใจ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
       พ่อหลวงธีรวัฒน์ เรขามูลนิธิพัฒนาลุ่มน้ำคำ ให้ข้อคิดและมุมมอง ของธนาคารต้นไม้ นอกจากเป็นตัวเงิน ต้นทุนของน้ำในแม่น้ำแล้วยังเป็นแหล่งรวมของสมุนไพร และวิถีชีวิต ความยั่งยืยของพี่น้องชนเผ่าอีกด้วย
      ปู่ลิง คุณสุรพล ที่ปรึกษามูลนิธิพัฒนาลุ่มน้ำคำ หนุนเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยการมีส่วนร่วมของเยาวชน ที่จะเป็นเจ้าของตัวจริงของธนาคารต้นไม้

ปลูกป่าสร้างคน

              ตลอดระยะเวลา 30 ปี ปตท. ในฐานะบริษัทพลังงานของไทย ยึดมั่นในเจตนารมณ์ดำเนินธุรกิจควบคู่กับการดูแลสังคม และสิ่งแวดล้อม (Corporate Social Responsibility : CSR) โดยยึดถทอการพัฒนาตามรอยเบื้องพระยุคลบาทของพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยการน้อมนำแนวพระราชดำริมาประพฤติและปฏิบัติเป็นแนวทางในการทำงานในทุกด้านด้วยปณิธานที่ยึดมั่นในการทำความดี รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการ ด้วยเชื่อมั่นว่า พลังความมุ่งมั่น ตั้งใจและทุ่มเทที่จะทำงานเพื่อคนไทยอย่างจริงจัง จะช่วยเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนให้สังคมไทยมีความมั่นคงแข็งแรงจะช่วยให้ลูกหลานไทยทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีเท่าเทียมกะน และเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 80 พรรษา ปตท. จึงถือเป็นปฐมฤกษ์ในการเปิดตัวโครงการ “รักษ์ป่า สร้าง 84 ตำบล วิถีพอเพียง” ด้วยการน้อมนำแนวพระราชดำริเรื่องปรัชญาเศรษกิจพอเพียงมาปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมในตำบลต่างๆ โดยมีเป้าหมาย 84 ตำบลทั่วประเทศ เพื่อน้อมเกล้าถวายในปี 2554 ในวโรกาศที่จะทรงเจริญพระชนมายุครบ 7 รอบ หรือ 84 พรรษา

             ที่สำคัญโครงการนี้เป็นการสานต่อจากโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ 1 ล้านไร่ ที่ได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อปี 2545 ที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จและได้รับการยอมรับในการดูแลรักษาป่าอย่างต่อเนื่อง ด้วยการพัฒนาที่จิตใจของชุมชนให้รักษ์ป่าและพัฒนาตนเองได้อย่างเข้มแข็งภายใต้วิถีพอเพียง อีกทั้งเป็นการสานต่อจากบทเรียนในการดำเนินงานโครงการรางวัลลูกโลกสีเขียวร่วมกับเครือข่ายสังคมชุมชน ในการเฟ้นมาคนดี ที่ดูแลสิ่งแวดล้อม ดูแลดิน น้ำ ป่า ด้วยการมอบรางวัลเพื่อให้เป็นกำลังใจ
วัตถุประสงค์โครงการ
1. เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2554 ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 7 รอบ หรือ 84 พรรษา
2. เพื่อน้อมนำกระแสพระราชดำริ “เศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นหลักปฏิบัติให้แก่ชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมครอบคลุมในทุกด้าน เกิดผลเป็นต้นกล้า
3. ต้นแบบของชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง
4. เพื่อดำเนินโครงการต่อเนื่องจากโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ 1 ล้านไร่ของ ปตท. มาสู่การพัฒนาคน พัฒนาชุมชนใน 84 ตำบล ทุกภูมิภาคทั่วประเทศที่เข้าร่วมโครงการให้เป็นชุมชนต้นแบบที่มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจพลังงานสังคม ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ทั้งยังสามารถขยายผลไปยังชุมชนอื่นๆ ต่อไป
5. เพื่อป้องกันพลังสร้างสรรค์ในการพัฒนาสังคมไทยให้เติบโตอย่างมั่นคง ยังยืน อยู่รอดได้ในทุกสถานการณ์ แม้ว่าจะเกิดความผันผวนทางเศรษกิจในอนาคตหลักในการดำเนินงาน
การขับเคลื่อนการทำงานตลอดทั้งโครงการ ต้องยึดหลักการร่วมกันดังนี้
1. น้อมนำพระราชดำริ “ปรัชญาพอเพียง” มาเป็นแนวปฏิบัติ
2. ดำเนินงานด้วยความต้องการของชาวบ้านและชุมชนเป็นหลัก
3. การมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทุกขั้นตอน
4. ไม่เน้นเงินนำหน้า เน้นสร้างความรู้ให้เกิดในชุมชนและยั่งยืน
5. สรุปเป็นองค์ความรู้ของชุมชนร่วมกับ กลุ่ม ปตท. และเครือข่าย
84 ตำบลมาจากไหน
การคัดเลือกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. จากหมู่บ้าน ปตท. เครือข่ายรางวัลลูกโลกสีเขียวชุมชนใกล้หน่วยงาน ปตท. และกลุ่ม ปตท. เครือข่ายประชาสังคม สวทช. ฯลฯ
2. เปิดรับสมัครด้วยความสมัครใจของแต่ละตำบลโดยต้องผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการที่ปรึกษาที่ ปตทง จัดตั้งขึ้น โดยแต่ละตำบลที่เข้าร่วมโครงการต้องมีหมู่บ้านมากกว่าร้อยละ 50 พร้อมเข้าร่วมกิจกรรมหรือมีผู้นำชุมชนที่พร้อมจะเข้าร่วม หรือมีชุมชนสนับมนุนและมีปัจจัยเงื่อนไขที่เหมาะสมตามที่กำหนด
เป้าหมายของโครงการ
           ปตท. และกลุ่มภาคีเครือข่ายได้ศึกษาเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ กับชุมชนเพื่อกำหนดเป็นเป้าหมายและแนวทางในการดำเนินงานเพื่อให้ทุกขั้นตอนสอดคล้องและไปในทิศทางเดียวกัน โดยได้เป้าหมายร่วมกัน 8 เป้าหมาย เพื่อสร้างเป็นองค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง