ผู้ตรวจฯ ลงพื้นที่ออกโฉนดชุมชนต้นแบบ จ.เชียงราย







          นายจำรัส ศักดิ์จิรพาพงศ์ ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะอำนวยการสำนักงานโฉนดชุมชน ได้นำคณะคณะทำงานสำรวจและตรวจสอบพื้นที่ การจัดให้มีโฉนดชุมชน ไปยังอาคารเอนกประสงค์หมู่บ้านสมานมิตร หมู่ 1 ต.ดอนศิลา อ.เวียงชัย เพื่อรับทราบข้อมูลและตรวจสอบกรณีหมู่บ้านเสนอให้มีการออกโฉนดชุมชนบนที่ดินสาธารณะรอบ "หนองหลวง" ซึ่งเป็นหนองน้ำสาธารณะที่มีเนื้อที่กว้างประมาณ 9,000 กว่าไร่ ติด 2 อำเภอ 3 ตำบล คือ ต.ห้วยสัก อ.เมืองเชียงราย และ ต.เวียงชัย ต.ดอนศิลา อ.เวียงชัย โดยพื้นที่ขอออกโฉนดเฉพาะที่ติดกับหมู่บ้านสมานมิตรไปยังสำนักงานโฉนดที่ดินจำนวน 3,589 ไร่ จากการรับฟังความเห็นจากชาวบ้านสมานมิตร ผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้านจากพื้นที่หมู่บ้านอื่นๆ ทั้ง 3 ตำบลและกลุ่ม ปชช.อีกหลายอำเภอ เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นประมาณ 300 คน และถือว่าเป็นการนำร่องของการออกฌฉนดชุมชนต้นแบบของจังหวัดเชียงราย นายวิรัตน์ พรหมสอน ประธานคณะกรรมการดูแลสิ่งแวดล้อมหมู่บ้านสมานมิตร แกนนำในการยื่นขอออกโฉนดชุมชน กล่าวว่า พื้นที่ที่ยื่นขอออกโฉนดชุมชนนั้น เป็นพื้นที่ที่ประชาชนทั้ง 3 ตำบลใช้ประโยชน์ทางการเกษตรมานาน แต่ปรากฎว่าที่ผ่านมาเกิดปัญหานายทุน เข้าไปอ้างสิทธิ์ในพื้นที่และทำการขูดรีดค่าเช่าจากชาวบ้านที่เข้าไปทำประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าว และเพื่อปกป้องไม่ให้พื้นที่ดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธ์ของนายทุน ขณะที่แกนนำองค์กรปกครองส่วนท้องที่ และผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้าร่วมนำเสนอข้อมูล และแสดงความคิดเห็นที่ไม่เห็นด้วย กับการออกโฉนดดังกล่าว เนื่องจากหนองหลวงถือเป็นหนองน้ำสาธารณะที่หลายพื้นที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันมาโดยตลอด โดยให้เหตุผลว่าจะทำให้เกิดความขัดแย้งในกลุ่มผู้ทำประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มขึ้น ในขณะที่หลายพื้นที่ในจังหวัดเชียงราย ที่เข้าร่วมสังเกตุการณ์ ได้มีการเริมดำเนินการ ในการทำโแนกชุมชนและมีการตอบรับที่ดี อย่างไรก็ตาม ทางคณะทำงานที่มารับฟังข้อมูลในวันนี้ จะได้นำข้อมูลที่ได้ไปพิจรณาหาทางแก้ไขต่อไป






มิติใหม่กับกองทุนฟื้นฟูเกษตรกร จังหวัดเชียงราย

        
          นายวิชิต จันทะแจ้ง รักษาการเรขาธิการกองทุนฯ ร่วมกับ กฟก.ชร. จัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ แผนยุทธ์ศาสตร์กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดเชียงราย ณ โรงแรมแสนภู อ.เมือง วันที่ 12 กันยายน 2553 โดยมียุทธศาสตร์หลักคือ 1.การจัดการหนื้ของเกษตรกรให้เหมาะสม มีโอกาสฟื้นฟูและสามารถดำรงค์ชีวิตได้อย่างมั่นคง 2.พัฒนาศักยภาพองค์กรเกษตรกร ให้มีความเข้มแข็งสามารถนำพาไปสู่การฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพได้อย่างยั่งยืน ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3.ฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพหลักให้เกษตรกรพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน 4.สร้างรายได้เพิม เสริมอาชีพหลัก ด้วยองค์ความรู้และภูมปัญญาบนฐานทรัพยากรขององค์กรและชุมชน มีสมาชิก กฟก.เข้าร่วมรับฟังจนล้นห้องประชุม มีประเด็นที่น่าสนใจ การยกเลิกดอกเบี้ยทั้งหมดและลดหนี้เงินต้น 50 % สามารถผ่อนชำระหนี้ได้ถึง 15 ปีแและกรณีที่เป็นลูกหนี้ที่ดี เงินต้นที่เหลืออีก 50 % อาจยกให้ไม่ต้องจ่ายอีก (ตามมติ ครม.ของรัฐบาลชุดนี้) และมีการแสดงความคิดเห็นตอบข้อซักถามหลายประเด็น ปี 2552 จังหวัดเชียงรายมี -องค์กร กฟก.ที่ได้รับการอบรมไปแล้ว 354 องค์กร -เสนอแผนฟื้นฟู 93 โครงการ วงเงินกว่า 2.735.385.00 บาท -วงเงินกู้ยืม 13.185.415.00 บาท -รวมเป็นเงินที่ขอรับการสนับสนุน 15.920.800.00 บาท สมาชิก องค์กร และคณะกรรมการ กฟก.ชร.ต้องทำงานกันเพิมขึ้น ทุกส่วนต้องร่วมมือกัน เพื่อให้เป็นตามจุดประสงค์ของโครงการ สำคัญอยู่ที่เกษตรกรเอง บทเรียนที่ผ่านมาต้อนำมาใช้และปรับปรุง เพื่อความยั่งยืนของของเกษตรกรไทย นายวิชิต จันทะแจ้ง รักษาการเรขาธิการกองทุนฯ กล่าวในที่สุด

จัดเวทีสมัชชาสุขภาพจังหวัดเชียงราย ประจำปี ๒๕๕๓

   
       พล.ต.ต.รักชาติ ราชกิจ ประธานคณะกรรมการบริหารสมัชชาสุขภาพจังหวัดเชียงราย จัดแถลงข่าว การจัดเวทีสมัชชาสุขภาพจังหวัดเชียงราย ประจำปี ๒๕๕๓ และเวที่รับฟังความคิดเห็น พิจารณาร่างมติสมัชชาสุขภาพหางชาติ ครั้งที่ ๓ พ.ศ.๒๕๕๓ เวลา ๑๓.๐๐ น. – ๑๓.๓๐ น.ณ ห้องเชียงราย ๒ โรงแรมอินคำ อ.เมือง จ.เชียงราย โดยมี กรรมการบริหารสมัชชาสุขภาพจังหวัดเชียงราย ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย สาธารณะสุขจังหวัดเชียงราย ร่วมแถลงและตอบข้อซักถาม สื่อมวลชน คณะกรรมการ และผู้สนใจ ร่วม ๕๐ ท่าน ในการจัดงานสมัชชาสุขภาพจังหวัดเชียงราย ประจำปี ๒๕๕๓ ในวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๓ เวลา ๐๘.๓๐ น. – ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุมแกรน บอลรูม โรงแรมอินคำ อ.เมือง จ.เชียงราย เพื่อนำข้อเสนอเชิงนบาย ในประเด็น
สมัชชาสุขภาพจังหวัดเชียงราย รวม ๗ ประเด็น
-ประเด็นการควบคุมการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนและ การควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
-ประเด็นภูมปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการทรัพยากรสมุนไพร
-ประเด็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการจัดการสุขภาวะ(ขยะอันตราย)
-ประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและลุ่มน้ำ
-ประเด้นผู้สูงอายุ
-ประเด็นเด้ก เยาวชน และตรอบครัว
-ประเด็นสุขภาพจิต