การเลี้ยงปลาในนาข้าว

         เมืองไทยใหญ่อุดม ดินดีสม เป็นนาสวน ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว คำๆนี้ หลายท่านคงจะเคยได้ยินติดหูมากันตั้งแต่เด็กๆแต่ถ้าเป็นสมัยนี้อาจจะมีคำต่อมาอีกว่า เมื่อในนามีข้าวและมีน้ำ มันก็ต้องมีปลาในเวลาต่อมา จนเป็นที่มาของการเลี้ยงปลาในนาข้าว
การเกษตรแบบผสมผสานอย่าง ที่เราให้ความสนใจกันจริงๆแล้วในต่างจังหวัดตามชนบทเค้าทำกันมาตั้งแต่นานมา แล้วโดยอาจจะเป็นการตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตามเพราะว่าการเลี้ยงปลาที่มีอยู่ อย่างธรรมชาติโดยไม่ต้องปล่อยปลาเพิ่มเติมเข้าไปแต่เนื่องด้วยปัจจุบันการ ใช้สารเคมีทำให้ปลาต่างๆก็หนีไปอาศัยตามต้นน้ำหรือแม่น้ำลำธารกันเกือบหมด เหลือแต่ปลาที่สามารถทนต่อสภาพน้ำที่มีสารเคมีไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยหรือสารกำกัด ศัตรูพืช อย่างเช่นปลาช่อน ปลาดุก เป็นต้น วันนี้การเลี้ยงปลาในนาข้าวจึงต้องเป็นการเลี้ยงที่ปล่อยพันธ์ปลาเพิ่มเข้าไปเรามาดูว่าเลี้ยงได้อย่างไรและมีผลกระทบอย่างไร
                สำหรับการเลี้ยงปลาในนาข้าวนั้น จะใช้ตาข่ายที่มีรูเล็กๆน้ำสามารถผ่านได้ตลอดวางกันตลอดรอบๆพื้นที่นาเพื่อ กันไม่ให้ปลาออกไปได้ จะทำการเลี้ยงในช่วงที่ข้าวกำลังตั้งท้องจนก่อนที่จะเก็บเกี่ยวข้าว สำหรับอาหารปลาเมื่อก่อนนั้นจะเป็นแบบธรรมชาติแต่เดี่ยวนี้ต้องให้อาหาร สำเร็จรูป อย่างอื่นก็ไม่ต้องทำไรอีกแค่ให้อาหารตามเวลา ง่ายสะดวกดีนะครับเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง
                ปัญหาที่พบหากว่าเราเลือกเลี้ยงปลาในนาข้าว เนื่องจากว่าช่วงหน้าฝนน้ำเยอะบางครั้งเกินขอบเขตตาข่ายที่เรากันไว้ทำให้ ปลาหลุดออกไปทำให้เกิดการขาดทุนได้ หรือไม่อย่างนั้นเราต้องจับปลาขายก่อนกำหนดทำให้เกิดการขาดทุนได้ นี่คือผลกระทบต่อผลผู้เลี้ยงปลาเองนะครับ แต่ยังมีผลกระทบต่อระบบนิเวศอีกด้วยเพราะปลาบางชนิดที่ท่านเลี้ยงไม่ได้เป็น ปลาประจำถิ่นและเป็นปลากินเนื้อหรือกินปลาขนาดเล็กหากอยู่ในพื้นที่ก็ไม่น่า จะมีปัญหาหากหลุดออกไปในระบบนิเวศแล้วจะมีผลกระทบอย่างมาก ปลาประจำถิ่นอาจจะสูญพันธ์ได้หลายคนอาจจะไม่รู้ข้อมูลเหล่านี้ ท่านลองสังเกตแหล่งน้ำใกล้บ้านท่านซิครับว่าเลาที่ท่านเคยเห็นเคยจับหายไป ไหนหมดทั้งๆที่ก็มีการจับปกติไม่ได้มากมายอะไรเลย แต่ก็อยากให้มองสองแบบนั่นคือสารเคมีทำให้ปลาตายหรืออพยพย้ายถิ่นอาศัย เนื่องจากสารเคมีทีใช้ในเรือกสวนไร่นาสุดท้ายก็ซึมลงใต้ดินหรือไหลหลากยาม หน้าฝนชะมาลงสู่แม่น้ำลำคลองนั่นเอง หรืออีกประเด็นที่กล่าวมาปลาชนิดใหม่ที่เป็นผู้ล่ามาแทนที่

 แล้วเราจะทำอย่างไร แนะนำให้เลี้ยงปลาในนาข้าวที่ เป็นปลาประจำถิ่นที่มีอยู่เดิม งดใช้วารเคมีในนาข้าว ใช้เกษตรอินทรีย์เข้ามาแทนที่เกษตรเคมี แค่นี้ก็สามารถลดปัญหาที่เกิดขึ้นได้เยอะมากแล้วแทบจะไม่ต้องทำอย่างอื่นเลย ผลผลิตที่ได้ก็มากกว่าเดิม ปลาก็แพร่พันธ์ออกไปตามธรรมชาติได้มากขึ้น ส่วนน้ำท่วมเป็นไปตามธรรมชาติต้องบริหารจัดการโดยทำฝายกันน้ำหรือเปลี่ยนทิศ ทางน้ำออกไปหลายสาขานอกจากลดปริมาณน้ำแล้วยังได้รับน้ำเข้านาข้าวอย่างทั่ว ถึง

เลี้ยงปลานิล ในนาข้าว
https://www.youtube.com/watch?v=haTNm61dBkc

ข้าวเหนียวเขี้ยวงู พันธุ์ดีจากเชียงราย

        ข้าวเหนียวเขียวงูเป็นพันธุ์ข้าวเหนียวที่มีคุณภาพดีและเป็นสายพันธุ์หนึ่ง ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และแหล่งเพาะปลูกส่วนใหญ่จะอยู่ที่ทางภาคเหนือของประเทศ มีการปลูกมากในจังหวัดเชียงราย สำหรับพันธุ์ที่ขายกันอยู่ทั่วไปในท้องตลาดจะเป็นข้าวเหนียวเขี้ยวงู พันธุ์ กข.6 ซึ่งได้รับการขัดสีให้มีขนาดของเม็ดที่เรียวยาวแหลมและมีสีขาวแตกต่างจาก ข้าวเหนียวพันธุ์อื่น จากผลการสำรวจของกรมการข้าวพบว่าในแต่ละปี ข้าวเหนียวเขี้ยวงูของจังหวัดเชียงรายได้มีการส่งให้กับพื้นที่ภาคกลางตกปี ละประมาณ 250-350 ล้านตัน และมีราคาตันละ 40,000 บาท ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรได้ถึงปีละ 10-15 ล้านบาท แต่ในปัจจุบันข้าวเหนียวเขี้ยวงูจะมีราคาที่ค่อนข้างสูงเนื่องจากต้องผ่าน ขั้นตอนการผลิตหลายขั้นตอน
            สำหรับตลาดส่วนใหญ่ที่รับซื้อข้าวเหนียวเขี้ยวงูจะมีจุดประสงค์ในการนำไปแปร รูปเป็นผลิตภัณฑ์ขนมหวาน เช่น ข้าวเหนียวมูน นอกจากนี้กรมการข้าวได้มีการลงนามข้อตกลงในการผลิตข้าวเหนียวเขี้ยวงูร่วม กับองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ในการรับซื้อข้าวเหนียวเขี้ยวงูจากเกษตรผู้ผลิต โดยทางศูนย์วิจัยข้าวเชียงรายจะได้ทำการคัดเลือกเกษตรกรเพื่อทำการปลูกข้าว ในแปลงนาสาธิตจำนวน 10 ไร่ และทางกรมการข้าวยังมีแนวคิดที่จะจดทะเบียนให้ข้าวเหนียวเขี้ยวงูเป็นข้าว GI อีกชนิดหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มว่าจะมีการส่งออกที่มากขึ้นในอนาคต สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียดเกี่ยวกับการเพาะปลูกข้าวเหนียวเขี้ยวงู สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย หมายเลขโทรศัพท์ 0 5372 1578 ในวันและเวลาราชการ

บ้านสวนพอเพียง


     บ้านหลังนี้มีการใช้งานพื้นที่และมีการจัดแจงพื้นที่ใช้สอยในการเพราะปลูกอย่างมีระบบดีมากๆ
ด้วยการจัดการพื้นที่และระบบแบบนี้ ทำให้มีรายได้จากการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ 4-5 พันบาท/เดือน หรือมากกว่า  ดูแล้วประทับใจเลยเอามาฝากครับ
มีกิจกรรม ได้แก่
1. ผักสวนครัวรั้วกินได้
2. แปลงผัก
3. บ่อเลี้ยงกุ้งฝอย
4.บ่อปลาดุก
5.พืชสวน
6.โรงปุ๋ยและผลิตอาหารสัตว์
7.โรงเพาะเห็ด
8.โรงเลี้ยงไก่
9.บ่อกบ
10.แปลงไม้ดอกไม้ประดับ  เป็นต้น