ความเสียสละอันยิ่งใหญ่

ทำไมคนไทยจึงรัก..ในหลวง
"เดิมพันของเรา"
ครั้งหนึ่ง เมื่อหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช กราบบังคมทูลถามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า
"เคยทรงเหนื่อย ทรงท้อบ้างหรือไม่"
ครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสตอบว่า
 ความจริงมันน่าท้อถอยหรอก
บางเรื่องมันน่าท้อถอย แต่ว่าฉันท้อไม่ได้ เพราะเดิมพันของเรานั้นสูงเหลือเกิน
เดิมพันของเรานั้น คือบ้านคือเมือง คือความสุขของคนไทยทั่วประเทศ

ข้อมูลจาก ไทยรัฐ ฉบับธ.ค.32
ราษฎรยังอยู่ได้"
ปีพุทธศักราช 2513 เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ที่จะเสด็จพระราชดำเนิน
ไปเยี่ยมราษฎรในตำบลหนึ่งของอำเภอเมืองพัทลุง อันเป็นแหล่งที่ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์
ปฏิบัติการรุนแรงที่สุดในภาคใต้เวลานั้น ด้วยความห่วงใยอย่างยิ่งล้น

ทางกระทรวงมหาดไทยได้กราบบังคมทูลขอให้ทรงรอให้สถานการณ์ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่เสียก่อน แต่คำตอบที่ทางกระทรวงมหาดไทยได้รับก็คือ 
ราษฎรเขาเสี่ยงภัยยิ่งกว่าเราหลายเท่า เพราะเขา
ต้องกินอยู่ที่นั่นเขายังอยู่ได้ แล้วเราจะขลาดแม้แต่จะไปเยี่ยมเยียนทุกข์สุขของเขาเชียวหรือ

ข้อมูลจากคำอภิปรายเรื่อง "พระบิดาประชาชน"
และมีอีกหนึ่งพระกระแสพระราชดำรัสที่เป็นคำตอบว่าเหตุใดจึงไม่อาจหยุดทรงงานได้
...คนเราจะอยู่สุขสบายแต่คนเดียวไม่ได้ ถ้าคนที่อยู่ล้อมรอบมีความทุกข์ยาก ควรต้องแบ่งเบาความทุกข์ยากของเขาบ้าง ตามกำลังและความสามารถเท่าที่จะทำได้!
ดอกไม้จากหัวใจ"
ที่นครพนม บนเส้นทางรับเสด็จตรงสามแยกชยางกูร-เรณูนคร บายวันที่ 13 พ.ย. 2498
อาณัติ บุนนาค หัวหน้าส่วนช่างภาพประจำพระองค์ ได้บันทึกภาพในวินาทีสำคัญที่กลายเป็นภาพประวัติศาสตร์ภาพหนึ่งของประเทศ
ภาพที่พูดได้มากกว่าคำพูดหนึ่งล้านคำ
วันนั้นหลังจากทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารเสร็จสิ้นในช่วงเช้าแล้ว
ทั้ง พระองค์ได้เสด็จฯ โดยรถยนต์พระที่นั่งกลับไปประทับแรม ณ จวนผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม
ราษฎรที่รู้ข่าวก็พากันอุ้มลูก จูงหลานหอบกันมารับเสด็จที่ริมถนนอย่างเนืองแน่น
ดังเช่นครอบครัวจันท์นิตย์ ที่ลูกหลายช่วยกันนำ แม่ตุ้ม จันทนิตย์ วัย 102 ปี ไปรอรับเสด็จ
ณ จุดรับเสด็จห่างจากบ้าน 700 เมตร โดยลูกหลานได้จัดหาดอกบัวสายสีชมพูให้แม่เฒ่าจำนวน ดอก
และพาออกไปรอที่แถวหน้าสุดเพื่อให้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทที่สุด
เปลวแดดร้อนแรงตั้งแต่เช้าจนสาย เที่ยงจนบ่าย แผดเผาจนดอกบัวสายในมือเหี่ยวโรย
แต่หัวใจรักภักดีของหญิงชรายังเบิกบาน เมื่อเสด็จฯ มาถึงตรงหน้า แม่เฒ่าได้ยกดอกบัวสายโรยรา
สามดอกนั้นขึ้นจบเหนือศีรษะแสดงความจงรักภักดีอย่างสุดซึ้ง พระเจ้าแผ่นดินทรงโน้มพระองค์
อย่างต่ำที่สุด จนพระพักตร์แนบชิดกับศีรษะของแม่เฒ่า ทรงแย้มพระสรวลอย่างเอ็นดู
พระหัตถ์แตะมือกร้านคล้ำของเกษตรกรชราชาวอีสานอยางอ่อนโยน
 
เป็นคำบรรยายเหมือนไม่จำเป็น สำหรับภาพที่ไม่จำเป็นต้องบรรยาย ไม่มีใครรู้ว่าทรงกระซิบคำใด
กับแม่เฒ่า แต่แน่นอนว่าแม่เฒ่าไม่มีวันลืม
เช่นเดียวกับที่ในหลวงไม่ทรงลืมราษฎรคนสำคัญที่ทรงพบริมถนนวันนั้น หลานและเหลนของแม่เฒ่าเล่าว่า "หลังจากเสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพฯ แล้ว ทางสำนักพระราชวังได้ส่งภาพรับเสด็จ
ของแม่เฒ่าตุ้ม พร้อมทั้งพระบรมรูปหล่อด้วยปูนพลาสเตอร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานมาทางอำเภอพระธาตุพนมให้แม่เฒ่าตุ้มไว้เป็นที่ระลึก"
พระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้นี้ อาจมีส่วนชุบชูชีวิตให้แม่เฒ่ายืนยาวขึ้นอีกด้วยความสุขต่อมาอีก
ถึงสามปีเต็ม ๆ แม่เฒ่าตุ้ม จันทนิตย์ ราษฎรผู้โชคดีที่สุดคนหนึ่งในรัชกาลที่ สิ้นอายุขัยอย่างสงบ
ด้วยโรคชราเมื่ออายุได้ 105 ปี
ข้อมูลจาก "แม่เฒ่าตุ้ม จันทนิตย์" ภาคพิเศษโดย คุณหญิงศรีนาถ สุริยะ วารสารไทย 

******************************************************
"เขาเดินมาเป็นวัน ๆ"
...มีอยู่ครั้งนึง ข้าพเจ้าอายุ 18 ปี ได้ตามเสด็จ...ตอนนั้นเป็นช่วงหลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรทุกจังหวัดและอำเภอใหญ่ๆ ก็เสด็จฯ ประมาณ โมงเช้า เสด็จออกทรงเยี่ยมราษฎร
มาเรื่อย ๆ ทีนี้ข้าพเจ้าก็รู้สึกว่า แหม นานเหลือเกิน ตอนนั้นยังไม่กางร่ม ตอนนั้นยังไม่ค่อยกลัวแดด
ไม่ใส่หมวก ก็รู้สึกแดดเปรี้ยง หนังเท้านี้รู้สึกไหม้เชียว ก็เดินเข้าไปกระซิบท่านว่า พอหรือยัง ก็โดนกริ้ว
นี่เห็นไหมราษฎรเขาเดินมาเป็นวัน ๆ เพื่อมาดูเราแม้แต่นิดเดียว แต่นี่เรายืนอยู่ไม่เท่าไรล่ะ
ตอนนี้ทนไม่ไหวเสียแล้ว..
พระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ วันที่ 11 ส.ค. 2534 

******************************************************
"ต่อไปจะมีน้ำ"
บทความ "น้ำทิพย์สาดเป็นสายพรายพลิ้วทิวงาม ทั่วเขตคามชื่นธารา" เขียนโดย มนูญ มุกข์ประดิษฐ์
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ ธ.ค.2528 ได้เล่าให้ผู้อ่านชาวไทยได้ประจักษ์ถึงเรื่องอัศจรรย์
ของ 
"ในหลวง" กับ "น้ำ" ที่เกิดขึ้นในคำวันหนึ่งของเดือน ก.พ.2528
ด้วยความทุกข์ที่เปี่ยมล้นใจอันเนื่องมาจากต้องเผชิญความแห้งแล้งอย่างหนัก หญิงชราคนนึ่งที่มาเข้าเฝ้าฯ
รับเสด็จได้คลานเข้ามากอดพระบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กราบบังคมทูลด้วยน้ำตาอาบแก้ม
ขอพระราชทานน้ำ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสตอบว่า 
ยายไม่ต้องห่วงแล้วนะ ต่อไปนี้จะมีน้ำ เราเอาน้ำมาให้
แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระดำเนินกลับไปยังรถพระที่นั่งซึ่งจอดห่างออกไปราว 5 เมตร ปรากฎว่าท่ามกลางอากาศที่ร้อนแล้ง จู่ ๆ ก็เกิดฝนตกลงมาเป็นครั้งแรกในรอบปี ทำให้ผู้ตามเสด็จ
และราษฎรในที่นั้นถึงกับงุนงงไปตาม ๆ กัน 


******************************************************
เก็บร่ม"
การเสด็จพระราชดำเนินทุกครั้ง แม้จะต้องเผชิญกับแดดร้อนหรือลมแรง ราษฎรก็ไม่เคยย้อท้อ
ที่จะอดทนรอรับเสด็จให้ถึงที่สุด แม้ฝนจะตกหนักแค่ไหนก็ไม่มีใครยอมกลับบ้าน
ร้อยเอกศรีรัตน์ หริรักษ์ เล่าไว้ในบทความ "พระบารมีปกเกล้าฯ ที่อำเภอท่ายาง" ตีพิมพ์ในหนังสือ "72 พรรษาราชาธิราชเจ้านักรัฐศาสตร์" ว่า ครั้งหนึ่งที่โครงการห้วยสัตว์ใหญ่ เมื่อเฮลิคอปเตอร์
พระที่นั่งมาถึง ปรากฎว่าฝนตกลงมาอย่างหนัก ราษฎรและข้าราชการที่มาเข้าแถวรอรับเสด็จต่างเปียกปอน
กันหมด แต่ก็ยังตั้งแถวเป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่อย่างนั้น
เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จลงมาจากเฮลิคอปเตอร์ นายตำรวจราชองค์รักษ์ที่ตามเสด็จ
ได้เข้าไปกางร่มถวายทรงทอดพระเนตรเห็นบรรดาข้าราชการและราษฎรที่มายืนตั้งแถวรอรับเสด็จอยู่
ต่างก็เปียกฝนโดยทั่วกัน
"จึงมีรับสั่งให้นายตำรวจราชอครักษ์เก็บร่ม แล้วทรงพระดำเนินเยี่ยมข้าราชการและราษฎร
ที่เข้าแถวรอรับเสด็จ โดยทรงเปียกฝนเช่นเดียวกับข้าราชการ และราษฎรทั้งหลายที่ยืนรอ
รับเสด็จในขณะนั้น" 

******************************************************
"สิ่งที่ทรงหวัง"
ครั้งหนึ่งขณะเสด็จฯ เยี่ยมเยียนราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้สื่อข่าวต่างประเทศคนหนึ่ง
ได้ขอพระราชทานสัมภาษณ์ และได้กราบบังคมทูลถามว่า การที่เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรและมีโครงการ
ตามพระราชดำริเกิดขึ้นมากมายนั้น ทรงหวังว่าจะให้คอมมิวนิสต์น้อยลงใช่หรือไม่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรบสั่งตอบว่า มิได้ทรงสนพระทัยว่าคอมมิวนิสต์จะน้อยลงหรือไม่
แต่ทรงสนพระทัยว่าประชาชนของพระองค์จะหิวน้อยลงหรือไม่ 

******************************************************
"รักถึงเพียงนี้" และ "จุดเทียนส่งเสด็จ"
บทความชื่อ "แผ่นดินร่มเย็นที่นราธิวาส" ตีพิมพ์ในนิตยสาร "สู่อนาคต" ฉบับพิเศษเนื่องในวันเฉลิมฯ
ได้เล่าย้อนให้เราได้เห็นภาพความยากลำบากในการเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรทางภาใต้เมื่อหลายปีก่อน
โดยเฉพาะช่วงก่อนสร้างพระราชตำหนักทักษิณราชนิเวศน์นั้น เป็นที่รู้กันว่าจังหวัดนราธิวาสชุกชุม
ไปด้วยโจรร้าย โจรปล้นสะดมและพวกโจรเรียกค่าไถ่ ถึงขนาดที่ในหลาย ๆ หมู่บ้านนั้น แม้แต่
เจ้าหน้าที่ของรัฐก็ไม่กล้าย่างกรายเข้าไป
ทว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักในทุกข์อันลึกล้ำของชาวบ้าน ที่ทั้งทุกข์เพราะยากจน
และทุกข์เพราะภัยคุกคาม จึงได้เสด็จฯลงไปเยี่ยมเยียนเป็นขวัญกำลังใจให้ราษฎรของพระองค์
โดยไม่ทรงหวาดหวั่น บางวันถึงกับเสด็จฯ เป็นการส่วนพระองค์โดยปราศจากกำลังอารักขา และบางหมู่บ้านตำรวจเพิ่งถูกคนร้ายแย่งปืนแล้วยิ่งตายก่อเสด็จไปถึงเพียงไม่กี่ชั่วโมง
ี้ จึงไม่แปลกที่หญิงชราคนหนึ่งในหมู่บ้านหนึ่งของอำเภอรือเสาะจะ เข้ามาเกาะพระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวร้องไห้แล้วบอกว่า 

ไม่นึกเลยว่าพระเจ้าอยู่หัวเป็นคนไทยชาวพุทธ จะมารักมุสลิมได้ถึงขนาดนี้"..
บทความเดียวกันได้เปิดเผยต่อไปอีกว่า ที่อีกหมู่บ้านหนึ่งในอำเภอเดียวกันนั้น
โต๊ะครูได้พาพรรคพวกมายืนรอรับเสด็จแล้วพูดขึ้นว่า
" ..รายอกลับไปเถอะ ประไหมสุหรีกลับไปเถิด ประเดี๋ยวพวกโจรจะลงจากเขา..."
และเมื่อถึงเวลาเสด็จฯ กลับที่มืดสนิทอย่างน่ากลัว โต๊ะครูกับชาวบ้านก็พากันมาจุดเทียน
ส่งเสด็จตลอดเส้นทางอันตราย ด้วยความห่วงใยใน "รายอ" และ "ประไหมสุหรี" หรือ
พระราชาพระราชินีของพวกเขาอย่างสุดซึ้ง 

******************************************************
"รถติดหล่มกับถนนสายนั้น"
หากย้อนกลับไปค้นหาจุดเริ่มต้นของพระราชกรณียกิจในด้านการพัฒนาแล้ว ชื่อของ "ลุงรวย"
และ 
"บ้านห้วยมงคล" คือสองชื่อที่ลืมไม่ได้ เรื่องราวของ "ลุงรวย" เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2495
หรือมากกว่าห้าสิบปีล่วงมาแล้ว ที่บ้านห้วยมงคล ตำบลหินเหล็กใน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
บ้านห้วยมงคลนี้อยู่ทั้ง "ใกล้และไกล" ตลาดหัวหิน ใกล้เพราะระยะทางที่ห่างกันนั้นไม่กี่กิโลเมตร
แต่ไกลเพราะไม่มีถนน หากชาวบ้านจะขนพืชผักไปขายที่ตลาดต้องใช้เวลาเป็นวัน ๆ
ห่างไกลความเจริญถึงเพียงนี้ แต่วันหนึ่งกลับมีรถยนต์คันหนึ่งมาตกหล่มอยู่ที่หน้าบ้านลุงรวย
เมื่อเห็นทหารตำรวจกว่าสิบนายระดมกำลังกันช่วยรถคันนั้นขึ้นจากหล่ม ลุงรวยผู้รวยน้ำใจสมชื่อ
ก็กุลีกุจอออกไปช่วยทั้งงัด ทั้งดัน ทั้งฉุด จนที่สุดล้อรถก็หลุดจากหล่ม
เมื่อรถขึ้นจากหล่มแล้ว ลุงรวยจึงได้รู้ว่ารถคันที่ตัวทั้งฉุดทั้งดึงนั้นเป็นรถยนต์พระที่นั่ง
และคนในรถนั้นคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระราชินีนาถ
แม้จะตื่นเต้นตกใจที่ได้เฝ้าฯ ในหลวงอย่างไม่คาดฝัน แต่ลุงรวยก็ยังจำได้ว่าวันนั้น "ในหลวง" มีรับสั่ง
ถามลุงว่า 
"หมู่บ้านนี้มีปัญหาอะไรบ้าง.."
ลุงได้กราบบังคมทูลว่า ปัญหาใหญ่ที่สุดคือไม่มีถนน จึงนอกจากจะโชคดีได้รับพระราชทาน
"เงินก้นถุง" จำนวน 36 บาท ซึ่งลุงนำไปเก็บใส่หีบบูชาไว้เป็นสิริมงคลจนถึงทุกวันนี้แล้ว
อีกไม่นานหลังจากนั้น ลุงรวยก็ได้เห็นตำรวจพลร่มกลุ่มหนึ่งเข้ามาช่วยกันไถดินที่บ้านห้วยมงคล
และเพียงหนึ่งเดือนเท่านั้น 
ชาวบ้านก็ได้ถนนพระราชทาน ถนนห้วยมงคลที่ทำให้ชาวไร้ห้วยมงคล
สามารถขนพืชผักออกมาขายที่ตลาดหัวหินได้ภายในเวลาเพียง 20 นาที 

******************************************************
"สามร้อยตุ่ม"
มีหลายหนที่ทรงงานติดพันจนมืดสนิท ท่ามกลางฝูงยุงที่รุมตอมเข้ามากัดบริเวณพระวรกาย รอบพระศอ
พระกร พระพักตร์ รวมทั้งแมลงตาง ๆ ที่เข้ามารุมรบกวนพระองค์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะยังทรงทอดพระเนตรแผนที่อยู่ภายใต้แสงไฟฉาย ที่มีู้ส่องถวาย
อย่างไม่สะดุ้งสะเทือน อย่างมากที่ทรงทำคือโบกพระหัตถ์ปัดไล่เบา ๆ เท่านั้น
ครั้งหนึ่งทรงมีรับสั่งเล่าเรื่อง "ยุง" ด้วยพระอารมณ์ขันว่า
"..ที่บางจาก แต่ไม่มีจากหรอกนะ ยุงชุมมากเลย ไปยืนดูแผนที่ เลยโดนยุงรุมกัดขาทั้งสองข้าง
กลับมาขาบวมแดง ไปสกลนครกลับมาแล้วถึงได้ยุบลง มองเห็นเป็นตุ่มแตง ลองนับดูได้ข้างละ
ร้อยห้าสิบตุ่ม สองข้างรวมสามร้อยพอดี.." 

******************************************************
"น้ำท่วมครั้งนั้น"
วันที่ พ.ย. 26 ขณะที่ชาวกรุงเทพมหานครส่วนหนึ่งกำลังทนทุกข์หนักกับสภาพน้ำท่วมขัง
น้อยคนที่จะรู้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกำลังทรงพยายามหาหนทางบรรเทาทุกข์ให้พวกเขา
อยู่อย่างเงียบ ๆ
วันนั้นรถพระที่นั่งแวนแวคคอนเนียร์ แล่นออกจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ราวบ่ายสองโมงเศษ
สู่ถนนศรีอยุธยาเลี้ยวขวาเข้าถนนเพชรบุรี มุ่งสู่ถนนบางนาตราด ไม่มีหมายกำหนดการ ไม่มีการปิดถนน
แม้แต่ตำรวจท้องที่ก็ไม่ทราบล่วงหน้า
รถยนต์พระที่นั่งชะลอเป็นระยะ ๆ เพื่อทรงตรวจดูระดับน้ำ จนเมื่อถึงคอสะพานสร้างใหม่ที่คลองลาดกระบัง
จึงเสด็จลงจากรถยนต์พระที่นั่งเพื่อทรงหารือกับเจ้าหน้าที่ที่ตามเสด็จ
ทรงฉายภาพด้วยพระองค์เอง ทรงกางแผนที่ทอดพระเนตรจุดต่าง ๆ จนถึงเวลาบ่ายคล้อย
รถยนต์พระที่นั่งจึงแล่นกลับ เมื่อถึงสะพานคลองหนองบอน รถพระที่นั่งหยุดเพื่อให้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงฉายภาพบริเวณน้ำท่วม และทรงศึกษาแผนที่ร่องน้ำอีกครั้ง
ปรากฎว่าชาวบ้านทราบข่าวว่า "ในหลวงมาดูน้ำท่วม" ต่างก็พากันมาชมพระบารมีนับร้อย ๆ คน
จนทำให้การจราจรบนสะพานเกิดการติดขัด 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต้องทรงโบกพระหัตถ์
ให้รถขบวนเสด็จผ่านไปจนเป็นที่เรียบร้อยด้วยพระองค์เอง! 

******************************************************
"เชื่อมั่น"
เย็นย่ำแล้วแต่ขบวนรถยนต์พระที่นั่งยังไม่หมดภารกิจ เมื่อรถวิ่งกลับมาทางถนนพัฒนาการ
ทรงแวะฉายภาพบริเวณคลองตัน ทอดพรเนตรระดับน้ำแล้วทรงวกกลับมาที่คลองจิก
เวลานั้นฟ้ามืดแล้วเพราะเป็นเวลาจวนค่ำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงนำไฟฉายส่วนพระองค์
ออกมาส่องแผนที่ป้องกันน้ำท่วม และแนวพนังกั้นน้ำอยู่เป็นเวลานาน
 กลายเป็นอีกภาพหนึ่งที่สร้าง
ความตื้นตันใจแก่ประชาชนชาวกรุงเทพฯ อย่างยิ่ง
ประชาชนคนหนึ่งในละแวกเคหะนคร แขวงบางบอน เขตประเวศ บอกว่า
"รู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นที่ทรงห่วงใยทุกข์ของราษฎร เสด็จฯ มาแก้ไขปัญหา
น้ำท่วมด้วยพระองค์เอง พวกเราถึงจะทนทุกข์เพราะน้ำท่วมขังเน่ามาเป็นเวลานานก็เชื่อมั่นว่า
พระองค์ทรงช่วยพวกเราได้อย่างแน่นอน" 


******************************************************
"ฉันทนได้"
ในเดือนหนึ่งของปี 2528 พระทนต์องค์หนึ่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหักเฉียดโพรงประสาทฟัน
พระทนต์องค์นั้นต้องการการถวายการรักษาเร่งด่วน แต่ขณะนั้นกรุงเทพฯ ก็กำลังประสบปัญหาอุทกภัย
ต้องการการบรรเทาทุกข์เร่งด่วนเช่นกัน

เมื่อทันตแพทย์เข้ามาถวายการรักษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งถามว่า 
"จะใช้เวลานานเท่าใด"
ทันตแพทย์กราบบังคมทูลว่า อาจต้องใช้เวลา 1-2 ชม.
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งว่า
"ขอรอไว้ก่อนนะ ฉันทนได้ วันนี้ขอไปดูราษฏรและช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำท่วมก่อน" 
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
****************************

ที่มาของข้อมูล http://www.oknation.net/blog/print.php?id=148027
ประเพณีเลี้ยงผีขุนน้ํา (เลี้ยงผีฝาย)

ประเพณีเลี้ยงผีขุนน้ําเปนประเพณีที่แสดงถึงความกตัญูตอแมน้ําลําธารที่มีตอการทํามาหากิน
ของชาวบานโดยเฉพาะในเขตอําเภอทุงหัวชาง อําเภอบานโฮง อําเภอลี้ อําเภอบานธิ ในจังหวัดลําพูน
เนื่องจากประชากรสวนใหญยังมีอาชีพการเกษตรเป นหลัก จึงตองมีการพึงพาอาศัยน้ําจากแมน้ําลําธารในการทําการเกษตร
คําวา ผี หมายถึง คงหมายถึงวิญญาณหรือสิ่งที่สิงสถิตอยูในที่นั้นๆ
คําวา ขุน หมายถึง ความเปนใหญ ตนตอ ประธานหรืออารักษ
คําวา น้ํา มีความหมายเปนที่รูจักกันดีแลว แตในที่นี้หมายเอาแมน้ําลําคลอ ง เหมืองฝาย
เพราะฉะนั้น คําวา “ผีขุนน้ํา”หมายถึง สิ่งที่สถิตอยูตามตนน้ําลําธาร หรืออารักษตนน้ําลําธารอันมีหนาที่
ปกปองรักษาตนน้ําลําธารนั่นเอง ตัวอยาง เชน อารักษแมปง หรือขุนน้ําแมปง
การจัดพิธีเลี้ยงผีขุนน้ําสวนใหญจะจัดขึ้นในเดือนเกา  (มิ ถุนายน) หรือบางหมูบานจะมีการทํากอน
การทํานาเปนประจําทุกป กอนทําการเลี้ยงตองมีการประชุมกันกอนระหวางลูกเหมือง (หมายถึง ผูที่ใชน้ํา
ในแมน้ําลําธารนั้นๆ ทําการเกษตร ) เมื่อประชุมตกลงกันและหาฤกษงามยามดีกันเปนที่เรียบรอยแลวก็จะมีการเรี่ยไรเงิน เพื่อจัดซื้อ เครื่องสังเวยตางๆ ซึ่งประกอบดวย เทียน 4 เลม ดอกไม 4 สวย (กรวย) พลู 4 สวย หมาก 4 ขดหรือ 4 กอม ( 1 ขดเอามาตัดครึ่งเทากับ 1 กอม) ชอขาว (ธง) 8 ผืน มะพราว 2 คะแนง กลวย 2 หวี ออย 2 เลม หมอใหม 1 ใบ แกงสมแกงหวาน หัวหมู ไกตม สุรา และโภชนาหาร 7 อย าง รวมทั้งเมี่ยงและบุหรี่ เปนตน
      ในการประกอบพิธีบวงสรวงเซนไหวผีขุนน้ํา เนื้อสัตวคือเครื่องเซนไหวสําคัญที่หัวหนาเหมืองฝาย
พรอมกับสมาชิกจะตองเตรียมไว ซึ่งจํากัดเพียง 3 ชนิดเทานั้น ในแตละปจะสับเปลี่ยนหมุนเวียนกัน เชน ปนี้เซนไหวดวยหมู ปหนาจะต องเปนไก และปตอไปก็ตองเปนวัว
เชาตรูของวันแรม  ๙ ค่ํา เดือน ๙ แกฝายพรอมดวยพรอมสมาชิกที่ไดรับมอบหมายใหจัดทําเครื่อง
บวงสรวง จะตองไปถึงจุดน้ําหมายกอน เพื่อจัดการฆาสัตวที่จะนําไป เซนไหว หลังจากชําแหละแลวก็ชวยปรุงอาหารทําเปน 2 ประเภท คือทําแกงหนึ่งอยาง ชาวบานเรียกวา”แกงออม”และทําลาบดิบอีกอยางหนึ่งสวนที่เหลือก็จะเซนไหวเปนเนื้อสด ทําเหมือนกันทั้ง 3ชนิด ไมวาจะเปนเนื้อวัว หมูหรือไก
เมื่อจัดการแตงดาเครื่องสังเวยพรอมแลว ก็ทําชะลอมขึ้น  3 ใบ สําหรับใสเครื่องสังเวยตางๆที่
จัดเตรียมไว ชะลอม 2 ใบแรกใหคนหาบไป สวนใบที่ 3 นั้นใหคอนไป แลวใหทําศาลขึ้นหลังหนึ่ง ณ ที่ตนน้ําลําธารสําหรับที่จะเลี้ยงนั้น ประกอบดวยหลักชางหลักมา ปกอยูใกลๆศาลแลวนําเอาเครื่องสังเวยตางๆขึ ้นวางบนศาลนั้น แลวทําพิธีกลาวอัญเชิญเทวดาอารักษตลอดถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผี สางตางๆอันประจํารักษาอยู่ณ ตนน้ําลําธารที่นั้นใหไดรับรูแลวมารับเอาเครื่องสังเวยตางๆ ตลอดจนของใหสิ่งศักดิ์สิทธิ์อํานวย  อวยพรใหมีน้ําอุดมสมบูรณ มีฝนตกตองตามฤดูกาล ซึ่งกลาวเปนภาษาเหนือวา  “ขออัญเจินผีแพะผีปา ขุนหลวงมะลังกะ แมธรณี เจาตี้เจาดิน  เทวดาอารักษตังหลายอันปกปกรักษายังปาไมตนน้ําลําธาร เหมืองฝาย ภูผาปูดอย จุงชวยปลอยน้ําปลอยฝนตกลงมาหื้อชาวบานชาวเมือง สัตวตั๋วหนอยตั๋วใหญ สัพพะทั้งหลายจุงหื้อมีน้ํากินน้ําใช หื้อพิซซะขาวกลาจุงปนอุดมสมบูรณงามดี อยาไดมีศัตรูหมู ของรานมากวนมาควีแตเตอะ ”เปนตนตอจากนั้นพอตั้งเครื่องสังเวยมานานพอสมควรแลว สมมุติวาเจาที่เจาทาง ผีสางอารักษทั้งหมายรับเครื่องสังเวยอิ่มแลวก็นําเอาเครื่องสังเวยเหลานั้นมาแบงปนกันกินตอไปเปนเสร็จพิธี พิธีกรรมเลี้ยงผีขุนน้ําของชาวอําเภอบานธิมี ความแตกตางไปจากพิธีกรรมขางตน ซึ่งจากคําบอกเลาของผูเฒาผูแกในหมูบานไดเลาวา
      จุดเลี้ยงผีขุนน้ําในสมัยโบราณจะเปนตนไฮ  (ตนไทร) ในปจจุบันจะอยูตรงบริเวณกึ่งกลางของสันเขื่อนของอางเก็บน้ําแมธิ ในการประกอบพิธีจะเริ่มขึ้นเชาตรูของวันแรม  9 ค่ํา เดือน 9เมื่อทุกคนพรอมกันที่จุดหมาย  “ปูจาน”(อาจารย /ผูนําในการประกอบพิธีกรรม) จะประกอบพิธีขึ้นทาวทั้งสี่ หรือที่ชาวบานเรียกวา  “เตาตังสี่ ”ซึ่งประกอบดวย สะตวง จํานวน  6 อัน สะตวงทําดวยกาบกลวย ตัดยาวประมาณ 4 นิ้วทําเสาปกตรงกลาง สูงพอประมาณ สามารถที่ตะวางกระทงเย็บเหลี่ยม ทําดวยใบตองกลวยแลวปกลงพื้นดินในจุดบริเวณทําพิธี ดังภาพ

      สะตวงหมายเลข 5 เปนสะตวงที่เรียกวา หอพระอินทร มีสัญลักษณคือปกดวยฉัตรทรงกลมสีเขียว
ในกระทง ใสขางเหนียวเปนลูกกลมๆพรอมดวยกลวยสุก  1 ลูกสะตวงหมายเลข 6 เปนสะตวงสําหรับอัญเชิญเทพทั้งสี่ คือ เทวดาที่รักษาน้ํา รักษาปา รักษาดินแดนและอากาศ ใหมารับรูถึงการประกอบพิธีของชาวบานเมื่อทําพิธีขึ้นทาวทั้งสี่ แลว ปูจาน ก็จะให แกฝาย(หรือหัวหนาเหมืองฝาย ผูนําที่ตองรับผิดชอบประเพณีเลี้ยงผีขุนน้ํา ) นําเครื่องเซนไหว ประกอบดว ย เนื้อสัตวทั้งสุกและดิบ สุรา  2 ขวดขึ้นไป วางไวบนแครที่จัดทําไว ปูจาน จะจุดเทียนทั้ง  2 เลม ซายขวา จุดธูป 1 กํามือ แจกจายใหผูเขารวมพิธีนํามาปกไวตรงกลางระหวางเทียนทั้ง  2 เลม การปกเทียน ธูป ทั้งสามจุดนี้มีความหมายถึง ใหความเคารพและระลึกถึงคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ เมื่อจุดเทียนธูปแลว ปูจานจะกลาวคําอัญเชิญเทวดา เพื่อใหมาชุมนุม รับเครื่องเซนไหวของชาวบาน เมื่อจบแลวกลาวคําแผเมตตา เปนการเสร็จพิธีของปูจาน ชาวบานที่เขารวมพิธีจะรอจนกระทั่งเทียนที่จุดไวใหเหลือพอประมาณ ก็อถือวาเทวดาหรือผีขุนน้ําอิ่ม ชาวบานที่เขารวมพิธีก็จะนําเครื่องบวงสรวงมาแบงกัน ทําอาหารและรับประทานรวมกัน ถืออันเปนเสร็จสิ้นประเพณีการเลี้ยงผีขุนน้ํา
            ดังนั้นจะเห็นวาประเพณีการเลี้ยงฝายหรือผีขุนน้ํานี้ นอกจากจะมีความสําคัญในดานเปนเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ทําใหเกษตรกรเ กิดกําลังใจในการทําการเกษตรแลว ยังชวยปลูกจิตสํานึกใหเกษตรเห็นความสําคัญของแหลงตนน้ําลําธาร ชวยกันดูแลรักษาไมใหแหลงตนน้ํานั้นถูกทําลาย รวมถึงรักษาระบบนิเวศอื่นๆที่มีผลตอตนน้ําลําธารนั้นดวย เชน ไมตัดไมทําลายปา ไมทําไรเลื่อนลอย ไมเผาปา เปนต น ทําให้สิ่ งมีชีวิตตางๆในระบบนิเวศเหลานี้ไมถูกทําลายไปดวย เนื่องจากพิธีกรรมดังกลาวทําใหเกษตรกรเกิดความกลัววาจะไดรับเคราะหกรรมหรือถูกลงโทษจากเทพยดาฟาดินที่ปกปองดูแลแหลงน้ําอยู จึงไมกลาทําลายแหลงตนน้ําลําธาร ดังนั้นจะเห็นวาบางพิธีกรรมหรือบางประเพณีตางๆ ที่ เกี่ยวของกับการทําการเกษตรที่มีสืบทอดมาตั้งแตอดีตนั้นมีประโยชนตอการรักษาระบบนิเวศ ชวยใหคนไมทําลายระบบนิเวศและยังชวยใหคนดูแลรักษาระบบนิเวศนี้ใหคงอยูดวย

ศูนย์ข้าวชุมชน

         ข้าวจัดเป็นอาหารหลักของคนไทย และยังเป็นอาชีพของเกษตรกรชาวไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ ปัจจุบันประเทศไทยนอกจากจะผลิตข้าวเพื่อการบริโภคในประเทศแล้ว ยังมีการส่งออกข้าวเพื่อไปจำหน่ายยังต่างประเทศกันอีกด้วย และข้าวของประเทศไทยก็เป็นข้าวที่ชื่อเสียงอยู่หลายชนิด โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิของประเทศไทยจะเป็นข้าวที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในต่างประเทศ
http://www.farmthailand.com/1053

วิธีการปลูกผักหวานป่า การปฏิบัติดูแล และ เพาะเมล็ดผักหวานป่าในพื้นที่ราบ

ผักหวาน โดยส่วนมากเรารู้จัดกันแต่ผักหวาน แต่บางคนอาจยังไม่ทราบว่ามีผักหวานกี่ชนิด ซึ่งที่อร่อยและมีราคาแพงก็จะเป็น ผักหวานป่า ป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นที่โตเต็มที่อาจสูงถึง 13 เมตร 
ส่วนที่พบโดยทั่วไปที่นำมาปลูกจะอยู่ที่ขนาดเล็ก หรือเป็นไม้พุ่ม เนื่องจากมีการหักกิ่งเด็ดยอดเพื่อกระตุ้นให้เกิดกิ่งและยอดอ่อนซึ่งเป็นส่วนที่ใช้บริโภค 
http://www.farmthailand.com/webboard/forum.php?mod=viewthread&tid=183