สวัสดัปีใหม่ 2554

ปีใหม่ 2554 ขอให้ทุกๆท่านพร้อมครอบครัว มีสุขภาพที่แข็งแรง มีเงินใช้ และมีความสุขตลอดปี 2554 ครับ

ขอให้ยุติโครงการสร้างฝายกั้นน้ำบ้านแสนใหม่

ร่วมแสดงความคิดเห็น แก่ฝาย กำนัน

สุดท้านยื่นหนังสือขอให้ยุคิโครงการก่อสร้าง จนกว้าจะมีตกลงร่วมกันในครั้วต่อไป

ขอให้ยุติโครงการสร้างฝายกั้นน้ำบ้านแสนใหม่

กลุ่มแก่ฝายน้ำจันประชุมหาแนวทางคัดค้านการก่อสร้างฝายเก็บน้ำบ้านแสนใหม่
เข้าร่วมฟังคำชี้แจงจาก เจ้าของโครงการ โดยมีนายอำเภอเป็นพยาน
        
 ตามที่โครงการชลประทานจังหวัดเชียงรายได้ทำหนังสือชี้แจง กรณีโครงการสร้างฝายกั้นน้ำบ้านแสนใหม่ โดยกองอำนวยการโครงการปลูกป่า กองบัญชาการกองทัพไทย พื้นที่บ้านสันติคีรี ได้ประสานงานกับโครงการชลประทานจังหวัดเชียงราย เพื่อจัดทำโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ปลูกป่า ตามแนวคิดดังที่กล่าวอ้างมาในจดหมายชี้แจง

วันที่ 20 ธันวาคม 2553 กลุ่มเหมืองฝายลุ่มน้ำแม่จัน 17 ฝาย และราษฎรกลุ่มผู้ใช้น้ำแม่จัน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ประชุมรับฟังคำชี้แจวถึงที่มาของโครงการฯ ณ หอประชุมอำแภอแม่จัน
        ผลสรุป ให้มีการพิจารณายุติโครงการสร้างฝายกั้นน้ำบ้านแสนใหม่ และหากจะจัดทำโครงการเพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ และอุทกภัยในพื้นที่ ควรจะเกิดจากการมีส่วนร่วมของคนทั้งลุ่มน้ำ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ........

ถวายพระพร 5 ธันวาคม 2553

" ขอพระองค์ทรงพระเจริญ พระชนมายุยืนนาน เพื่อประโยชน์สุข ของชาติบ้านเมือง และพสกนิกรชาวไทยทั้งปวง "



ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

ข้าพระพุทธเจ้า วิทยุชุมชนโยนกนคร FM.103.50 MHz.

ผู้ตรวจฯ ลงพื้นที่ออกโฉนดชุมชนต้นแบบ จ.เชียงราย







          นายจำรัส ศักดิ์จิรพาพงศ์ ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะอำนวยการสำนักงานโฉนดชุมชน ได้นำคณะคณะทำงานสำรวจและตรวจสอบพื้นที่ การจัดให้มีโฉนดชุมชน ไปยังอาคารเอนกประสงค์หมู่บ้านสมานมิตร หมู่ 1 ต.ดอนศิลา อ.เวียงชัย เพื่อรับทราบข้อมูลและตรวจสอบกรณีหมู่บ้านเสนอให้มีการออกโฉนดชุมชนบนที่ดินสาธารณะรอบ "หนองหลวง" ซึ่งเป็นหนองน้ำสาธารณะที่มีเนื้อที่กว้างประมาณ 9,000 กว่าไร่ ติด 2 อำเภอ 3 ตำบล คือ ต.ห้วยสัก อ.เมืองเชียงราย และ ต.เวียงชัย ต.ดอนศิลา อ.เวียงชัย โดยพื้นที่ขอออกโฉนดเฉพาะที่ติดกับหมู่บ้านสมานมิตรไปยังสำนักงานโฉนดที่ดินจำนวน 3,589 ไร่ จากการรับฟังความเห็นจากชาวบ้านสมานมิตร ผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้านจากพื้นที่หมู่บ้านอื่นๆ ทั้ง 3 ตำบลและกลุ่ม ปชช.อีกหลายอำเภอ เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นประมาณ 300 คน และถือว่าเป็นการนำร่องของการออกฌฉนดชุมชนต้นแบบของจังหวัดเชียงราย นายวิรัตน์ พรหมสอน ประธานคณะกรรมการดูแลสิ่งแวดล้อมหมู่บ้านสมานมิตร แกนนำในการยื่นขอออกโฉนดชุมชน กล่าวว่า พื้นที่ที่ยื่นขอออกโฉนดชุมชนนั้น เป็นพื้นที่ที่ประชาชนทั้ง 3 ตำบลใช้ประโยชน์ทางการเกษตรมานาน แต่ปรากฎว่าที่ผ่านมาเกิดปัญหานายทุน เข้าไปอ้างสิทธิ์ในพื้นที่และทำการขูดรีดค่าเช่าจากชาวบ้านที่เข้าไปทำประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าว และเพื่อปกป้องไม่ให้พื้นที่ดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธ์ของนายทุน ขณะที่แกนนำองค์กรปกครองส่วนท้องที่ และผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้าร่วมนำเสนอข้อมูล และแสดงความคิดเห็นที่ไม่เห็นด้วย กับการออกโฉนดดังกล่าว เนื่องจากหนองหลวงถือเป็นหนองน้ำสาธารณะที่หลายพื้นที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันมาโดยตลอด โดยให้เหตุผลว่าจะทำให้เกิดความขัดแย้งในกลุ่มผู้ทำประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มขึ้น ในขณะที่หลายพื้นที่ในจังหวัดเชียงราย ที่เข้าร่วมสังเกตุการณ์ ได้มีการเริมดำเนินการ ในการทำโแนกชุมชนและมีการตอบรับที่ดี อย่างไรก็ตาม ทางคณะทำงานที่มารับฟังข้อมูลในวันนี้ จะได้นำข้อมูลที่ได้ไปพิจรณาหาทางแก้ไขต่อไป






มิติใหม่กับกองทุนฟื้นฟูเกษตรกร จังหวัดเชียงราย

        
          นายวิชิต จันทะแจ้ง รักษาการเรขาธิการกองทุนฯ ร่วมกับ กฟก.ชร. จัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ แผนยุทธ์ศาสตร์กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดเชียงราย ณ โรงแรมแสนภู อ.เมือง วันที่ 12 กันยายน 2553 โดยมียุทธศาสตร์หลักคือ 1.การจัดการหนื้ของเกษตรกรให้เหมาะสม มีโอกาสฟื้นฟูและสามารถดำรงค์ชีวิตได้อย่างมั่นคง 2.พัฒนาศักยภาพองค์กรเกษตรกร ให้มีความเข้มแข็งสามารถนำพาไปสู่การฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพได้อย่างยั่งยืน ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3.ฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพหลักให้เกษตรกรพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน 4.สร้างรายได้เพิม เสริมอาชีพหลัก ด้วยองค์ความรู้และภูมปัญญาบนฐานทรัพยากรขององค์กรและชุมชน มีสมาชิก กฟก.เข้าร่วมรับฟังจนล้นห้องประชุม มีประเด็นที่น่าสนใจ การยกเลิกดอกเบี้ยทั้งหมดและลดหนี้เงินต้น 50 % สามารถผ่อนชำระหนี้ได้ถึง 15 ปีแและกรณีที่เป็นลูกหนี้ที่ดี เงินต้นที่เหลืออีก 50 % อาจยกให้ไม่ต้องจ่ายอีก (ตามมติ ครม.ของรัฐบาลชุดนี้) และมีการแสดงความคิดเห็นตอบข้อซักถามหลายประเด็น ปี 2552 จังหวัดเชียงรายมี -องค์กร กฟก.ที่ได้รับการอบรมไปแล้ว 354 องค์กร -เสนอแผนฟื้นฟู 93 โครงการ วงเงินกว่า 2.735.385.00 บาท -วงเงินกู้ยืม 13.185.415.00 บาท -รวมเป็นเงินที่ขอรับการสนับสนุน 15.920.800.00 บาท สมาชิก องค์กร และคณะกรรมการ กฟก.ชร.ต้องทำงานกันเพิมขึ้น ทุกส่วนต้องร่วมมือกัน เพื่อให้เป็นตามจุดประสงค์ของโครงการ สำคัญอยู่ที่เกษตรกรเอง บทเรียนที่ผ่านมาต้อนำมาใช้และปรับปรุง เพื่อความยั่งยืนของของเกษตรกรไทย นายวิชิต จันทะแจ้ง รักษาการเรขาธิการกองทุนฯ กล่าวในที่สุด

จัดเวทีสมัชชาสุขภาพจังหวัดเชียงราย ประจำปี ๒๕๕๓

   
       พล.ต.ต.รักชาติ ราชกิจ ประธานคณะกรรมการบริหารสมัชชาสุขภาพจังหวัดเชียงราย จัดแถลงข่าว การจัดเวทีสมัชชาสุขภาพจังหวัดเชียงราย ประจำปี ๒๕๕๓ และเวที่รับฟังความคิดเห็น พิจารณาร่างมติสมัชชาสุขภาพหางชาติ ครั้งที่ ๓ พ.ศ.๒๕๕๓ เวลา ๑๓.๐๐ น. – ๑๓.๓๐ น.ณ ห้องเชียงราย ๒ โรงแรมอินคำ อ.เมือง จ.เชียงราย โดยมี กรรมการบริหารสมัชชาสุขภาพจังหวัดเชียงราย ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย สาธารณะสุขจังหวัดเชียงราย ร่วมแถลงและตอบข้อซักถาม สื่อมวลชน คณะกรรมการ และผู้สนใจ ร่วม ๕๐ ท่าน ในการจัดงานสมัชชาสุขภาพจังหวัดเชียงราย ประจำปี ๒๕๕๓ ในวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๓ เวลา ๐๘.๓๐ น. – ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุมแกรน บอลรูม โรงแรมอินคำ อ.เมือง จ.เชียงราย เพื่อนำข้อเสนอเชิงนบาย ในประเด็น
สมัชชาสุขภาพจังหวัดเชียงราย รวม ๗ ประเด็น
-ประเด็นการควบคุมการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนและ การควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
-ประเด็นภูมปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการทรัพยากรสมุนไพร
-ประเด็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการจัดการสุขภาวะ(ขยะอันตราย)
-ประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและลุ่มน้ำ
-ประเด้นผู้สูงอายุ
-ประเด็นเด้ก เยาวชน และตรอบครัว
-ประเด็นสุขภาพจิต

84 ตำบลวิถีพอเพียง 5 ธค.52

         ตำบลจันจว้าใต้เป็น 1 ใน 84 ตำบลวิถีพอเพียง ที่ ปตท.หนุนเสริม เทศบาลตำบลจันจว้าช่วยสร้างความแข้มแขง 84 ตำบลวิถีพอเพียงเป็นกำลังใจ และชาวจันจว้าเป็นผู้ลงมือทำ โดยมีความหมายที่ว่าพอเพียงคือ

*ประหยัด เอามื้อ เอาแฮง ช่วยเหลือกันและกัน ทำงานเป็นหมู่
*ฮู้ตั๋ว ฮู้ตน ฮู้เหตุผล ฮู้ผล ฮู้รายรับ-รายจ่าย ฮู้แยกแยะและประมานตน
*เป็พี่เป็นน้อง เป็นแบบอย่างที่ดี
*เดินตามฮอยฮีดบรรพบุรุษ ใช้ฐานท้องถิ่นยึดถือ ระมัดระวังการดำรงค์ชีวิต และปรับตัวให้เหมาะสมในท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์
*พอเพียงในกำกึ๊ดและจิตในตัวเฮา
*เปียงตัวเก่า แล้วปอ
เป็นธงนำในการเดินทางสู่ ตำบลวิถีพอเพียง

วิถีพอเพียงเพื่อพ่อ

       ตลอดระยะเวลา 30 ปี ปตท. ในฐานะบริษัทพลังงานของไทย ยึดมั่นในเจตนารมณ์ดำเนินธุรกิจควบคู่กับการดูแลสังคม และสิ่งแวดล้อม (Corporate Social Responsibility : CSR) โดยยึดถทอการพัฒนาตามรอยเบื้องพระยุคลบาทของพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยการน้อมนำแนวพระราชดำริมาประพฤติและปฏิบัติเป็นแนวทางในการทำงานในทุกด้านด้วยปณิธานที่ยึดมั่นในการทำความดี รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการ ด้วยเชื่อมั่นว่า พลังความมุ่งมั่น ตั้งใจและทุ่มเทที่จะทำงานเพื่อคนไทยอย่างจริงจัง จะช่วยเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนให้สังคมไทยมีความมั่นคงแข็งแรงจะช่วยให้ลูกหลานไทยทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีเท่าเทียมกะน และเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 80 พรรษา ปตท. จึงถือเป็นปฐมฤกษ์ในการเปิดตัวโครงการ “รักษ์ป่า สร้าง 84 ตำบล วิถีพอเพียง” ด้วยการน้อมนำแนวพระราชดำริเรื่องปรัชญาเศรษกิจพอเพียงมาปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมในตำบลต่างๆ โดยมีเป้าหมาย 84 ตำบลทั่วประเทศ เพื่อน้อมเกล้าถวายในปี 2554 ในวโรกาศที่จะทรงเจริญพระชนมายุครบ 7 รอบ หรือ 84 พรรษา

        ที่สำคัญโครงการนี้เป็นการสานต่อจากโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ 1 ล้านไร่ ที่ได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อปี 2545 ที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จและได้รับการยอมรับในการดูแลรักษาป่าอย่างต่อเนื่อง ด้วยการพัฒนาที่จิตใจของชุมชนให้รักษ์ป่าและพัฒนาตนเองได้อย่างเข้มแข็งภายใต้วิถีพอเพียง อีกทั้งเป็นการสานต่อจากบทเรียนในการดำเนินงานโครงการรางวัลลูกโลกสีเขียวร่วมกับเครือข่ายสังคมชุมชน ในการเฟ้นมาคนดี ที่ดูแลสิ่งแวดล้อม ดูแลดิน น้ำ ป่า ด้วยการมอบรางวัลเพื่อให้เป็นกำลังใจ

วัตถุประสงค์โครงการ
1. เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2554 ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 7 รอบ หรือ 84 พรรษา
2. เพื่อน้อมนำกระแสพระราชดำริ “เศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นหลักปฏิบัติให้แก่ชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมครอบคลุมในทุกด้าน เกิดผลเป็นต้นกล้า
3. ต้นแบบของชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง
4. เพื่อดำเนินโครงการต่อเนื่องจากโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ 1 ล้านไร่ของ ปตท. มาสู่การพัฒนาคน พัฒนาชุมชนใน 84 ตำบล ทุกภูมิภาคทั่วประเทศที่เข้าร่วมโครงการให้เป็นชุมชนต้นแบบที่มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจพลังงานสังคม ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ทั้งยังสามารถขยายผลไปยังชุมชนอื่นๆ ต่อไป
5. เพื่อป้องกันพลังสร้างสรรค์ในการพัฒนาสังคมไทยให้เติบโตอย่างมั่นคง ยังยืน อยู่รอดได้ในทุกสถานการณ์ แม้ว่าจะเกิดความผันผวนทางเศรษกิจในอนาคตหลักในการดำเนินงาน

การขับเคลื่อนการทำงานตลอดทั้งโครงการ ต้องยึดหลักการร่วมกันดังนี้
1. น้อมนำพระราชดำริ “ปรัชญาพอเพียง” มาเป็นแนวปฏิบัติ
2. ดำเนินงานด้วยความต้องการของชาวบ้านและชุมชนเป็นหลัก
3. การมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทุกขั้นตอน
4. ไม่เน้นเงินนำหน้า เน้นสร้างความรู้ให้เกิดในชุมชนและยั่งยืน
5. สรุปเป็นองค์ความรู้ของชุมชนร่วมกับ กลุ่ม ปตท. และเครือข่าย

84 ตำบลมาจากไหน
การคัดเลือกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. จากหมู่บ้าน ปตท. เครือข่ายรางวัลลูกโลกสีเขียวชุมชนใกล้หน่วยงาน ปตท. และกลุ่ม ปตท. เครือข่ายประชาสังคม สวทช. ฯลฯ
2. เปิดรับสมัครด้วยความสมัครใจของแต่ละตำบลโดยต้องผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการที่ปรึกษาที่ ปตทง จัดตั้งขึ้น โดยแต่ละตำบลที่เข้าร่วมโครงการต้องมีหมู่บ้านมากกว่าร้อยละ 50 พร้อมเข้าร่วมกิจกรรมหรือมีผู้นำชุมชนที่พร้อมจะเข้าร่วม หรือมีชุมชนสนับมนุนและมีปัจจัยเงื่อนไขที่เหมาะสมตามที่กำหนด

เป้าหมายของโครงการ
        ปตท. และกลุ่มภาคีเครือข่ายได้ศึกษาเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ กับชุมชนเพื่อกำหนดเป็นเป้าหมายและแนวทางในการดำเนินงานเพื่อให้ทุกขั้นตอนสอดคล้องและไปในทิศทางเดียวกัน โดยได้เป้าหมายร่วมกัน 8 เป้าหมาย เพื่อสร้างเป็นองค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง

เครือข่ายองค์กรลุ่มน้ำแม่จัน–แม่สลอง



        โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรชุมชนลุ่มน้ำแม่จัน – แม่สลอง ในการอนุรักษ์ดิน น้ำ ป่า และเศรษฐกิจพอเพียง เป็นโครงการที่ดำเนินการต่อจากโครงการพัฒนาศักยภาพองค์กรชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากร ธรรมชาติในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่จัน ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อม ระยะเวลาดำเนินงาน 3 ปี (ตั้งแต่ปี 2546– 2549) ซึ่งผลจากการดำเนินโครงการในช่วงที่ผ่านมา ได้มีการทำงานเสริมสร้างการพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนราชการ และภาคเอกชน ให้มีบทบาทในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้ำแม่จัน ด้วยการให้ความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรดิน น้ำ ป่า และสิ่งแวดล้อมของชุมชน ควบคู่กับการจัดการพื้นที่ทำกินและลดการใช้สารเคมีในพื้นที่เกษตรของชุมชน ดังนั้น เพื่อให้การทำงานพัฒนาศักยภาพขององค์กรชาวบ้านให้มีบทบาทในการทำงานด้านการจัดการทรัพยากรดิน น้ำ ป่า มีการขยายผลการทำงานไปสู่ลุ่มน้ำแม่สลองที่มีสภาพพื้นที่คล้ายคลึงกัน อันจะส่งผลในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นในระยะยาวอย่างยั่งยืน จึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายองค์กรชุมชนลุ่มน้ำแม่จัน – แม่สลอง เพื่อให้เกิดกระบวนการทำงานที่มีความต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป วัตถุประสงค์ 1 เพื่อส่งเสริมและพัฒนากลุ่มองค์กรชุมชนในการอนุรักษ์ดิน น้ำ ป่า โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ 2 เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ และเกษตรอินทรีย์ 3 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มเด็กและเยาวชนในการจัดกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ ดิน น้ำ ป่า และหลักเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรอินทรีย์ในโรงเรียน 4 เพื่อพัฒนาศักยภาพองค์กรท้องถิ่นในการจัดทำแผนพัฒนาด้านการอนุรักษ์ ดิน น้ำ ป่า และเศรษฐกิจพอเพียง 5 เพื่อรณรงค์เผยแพร่แนวคิด และวิธีการอนุรักษ์ดิน น้ำ ป่า และเศรษฐกิจพอเพียง วันที่ 10 มิย. 2553 เจ้าหน้าที่โครงการกรมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ติดตามประเมินผล โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรชุมชนลุ่มน้ำแม่จัน – แม่สลอง ในการอนุรักษ์ดิน น้ำ ป่า และเศรษฐกิจพอเพียง มีการพูดคุยและให้คำแนะนำในการทำงาน และตัวแทนของกลุ่มผู้ใช้น้ำ โดยมี นายรัตน์ สิริ ประธานกลุ่มเหมือง และตัวแทนฝาย ผู้ใช้น้ำแม่จัน ให้ข้อมูลผลงานที่ผ่านมา และนายสุพจน์ หลี่จา เราขาธิการมูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา ร่วมให้ข้อมูลและนาำดูผลงานที่ผ่านมา ทางคณะติดตามประเมิงงานของกรมฯ ได้ใหความสำคัญต่อการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำป่า และได้ให้ข้อคิดถึงความสำคัญของความมั่นคงทางอาหาร โดยเฉพาะพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน และพันธุ์ข้าวของพืี่น้องชนเผ่า อำเภอแม่จัน

โฉนดชุมชนและธนาคารต้นไม้

          นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในระหว่างเป็นประธานเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง "การกระจายการถือครองที่ดินในรูปแบบโฉนดชุมชน" และมอบนโยบายแนวคิดโฉนดชุมชน วานนี้ (28 ส.ค.) ว่า เกษตรกรของประเทศส่วนใหญ่ ต้องการที่ดินทำกิน ซึ่งรัฐบาลมองว่า อนาคตเศรษฐกิจไทยต้องกลับมาอาศัยความเข้มแข็งของภาคเกษตร ทั้งการผลิตอาหารและพลังงานทดแทน ดังนั้น จึงกำหนดแนวทางแก้ปัญหาที่ดินทำกิน เป็นนโยบายสำคัญ และไม่ใช่เฉพาะกรรมสิทธิ์ถือครองที่ดินเท่านั้น แต่ต้องหาวิธีทำให้ประชาชนในชุมชนเข้มแข็งด้วย ซึ่งแนวคิด โฉนดชุมชน ที่กำลังผลักดันนี้จะเป็นแนวทางที่ทำให้รัฐบาลคล่องตัว ในการแก้ปัญหาที่ทำกินในหลายพื้นที่ได้มากขึ้น และเป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

        เทศบาลตำบลจันจว้าร่วมกับ มูลนิธิพัฒนชุมชนและเขตภูเขา เตรียมให้ความรู้เรื่อง โฉนดชุมชน ธนาคาต้นไม้ และการปลูกหญ้าแฝก แก่ ปชช.และผู้สนใจ โดยเฉพาะ ปชช.พื้นที่โดยรอมเมืองหล่ม(โยนกนครชัยบุรีศรีช้างแส่น) ตามเจตนาของรัฐบาล ในวันที่ 21 มิถุนายน 2553 เงลา 09.00 น.- 12.00 น. ณ สวนสาธารณะหนองมโนราห์

         ป้ามาลา ตำบลป่าตึงให้ความสนใจธนาคารต้นไม้ และจะชวนเพื่อนจัดตั้งธนาคารต้นไม้แน่นอน
          โดยมี คุณธีรพันธุ์ จากมูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา ให้ความรู้เรื่องโฉนดชุมชน



 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ประธานฝายผาม้า ฝายลูกแรกของแม่น้ำคำซักถาม อ.บรรดล แก้วชูพันธุ์  ประธานธนาคารต้นไม้จังหวัดเชียงราย ด้วยความสนใจ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
       พ่อหลวงธีรวัฒน์ เรขามูลนิธิพัฒนาลุ่มน้ำคำ ให้ข้อคิดและมุมมอง ของธนาคารต้นไม้ นอกจากเป็นตัวเงิน ต้นทุนของน้ำในแม่น้ำแล้วยังเป็นแหล่งรวมของสมุนไพร และวิถีชีวิต ความยั่งยืยของพี่น้องชนเผ่าอีกด้วย
      ปู่ลิง คุณสุรพล ที่ปรึกษามูลนิธิพัฒนาลุ่มน้ำคำ หนุนเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยการมีส่วนร่วมของเยาวชน ที่จะเป็นเจ้าของตัวจริงของธนาคารต้นไม้

ปลูกป่าสร้างคน

              ตลอดระยะเวลา 30 ปี ปตท. ในฐานะบริษัทพลังงานของไทย ยึดมั่นในเจตนารมณ์ดำเนินธุรกิจควบคู่กับการดูแลสังคม และสิ่งแวดล้อม (Corporate Social Responsibility : CSR) โดยยึดถทอการพัฒนาตามรอยเบื้องพระยุคลบาทของพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยการน้อมนำแนวพระราชดำริมาประพฤติและปฏิบัติเป็นแนวทางในการทำงานในทุกด้านด้วยปณิธานที่ยึดมั่นในการทำความดี รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการ ด้วยเชื่อมั่นว่า พลังความมุ่งมั่น ตั้งใจและทุ่มเทที่จะทำงานเพื่อคนไทยอย่างจริงจัง จะช่วยเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนให้สังคมไทยมีความมั่นคงแข็งแรงจะช่วยให้ลูกหลานไทยทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีเท่าเทียมกะน และเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 80 พรรษา ปตท. จึงถือเป็นปฐมฤกษ์ในการเปิดตัวโครงการ “รักษ์ป่า สร้าง 84 ตำบล วิถีพอเพียง” ด้วยการน้อมนำแนวพระราชดำริเรื่องปรัชญาเศรษกิจพอเพียงมาปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมในตำบลต่างๆ โดยมีเป้าหมาย 84 ตำบลทั่วประเทศ เพื่อน้อมเกล้าถวายในปี 2554 ในวโรกาศที่จะทรงเจริญพระชนมายุครบ 7 รอบ หรือ 84 พรรษา

             ที่สำคัญโครงการนี้เป็นการสานต่อจากโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ 1 ล้านไร่ ที่ได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อปี 2545 ที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จและได้รับการยอมรับในการดูแลรักษาป่าอย่างต่อเนื่อง ด้วยการพัฒนาที่จิตใจของชุมชนให้รักษ์ป่าและพัฒนาตนเองได้อย่างเข้มแข็งภายใต้วิถีพอเพียง อีกทั้งเป็นการสานต่อจากบทเรียนในการดำเนินงานโครงการรางวัลลูกโลกสีเขียวร่วมกับเครือข่ายสังคมชุมชน ในการเฟ้นมาคนดี ที่ดูแลสิ่งแวดล้อม ดูแลดิน น้ำ ป่า ด้วยการมอบรางวัลเพื่อให้เป็นกำลังใจ
วัตถุประสงค์โครงการ
1. เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2554 ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 7 รอบ หรือ 84 พรรษา
2. เพื่อน้อมนำกระแสพระราชดำริ “เศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นหลักปฏิบัติให้แก่ชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมครอบคลุมในทุกด้าน เกิดผลเป็นต้นกล้า
3. ต้นแบบของชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง
4. เพื่อดำเนินโครงการต่อเนื่องจากโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ 1 ล้านไร่ของ ปตท. มาสู่การพัฒนาคน พัฒนาชุมชนใน 84 ตำบล ทุกภูมิภาคทั่วประเทศที่เข้าร่วมโครงการให้เป็นชุมชนต้นแบบที่มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจพลังงานสังคม ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ทั้งยังสามารถขยายผลไปยังชุมชนอื่นๆ ต่อไป
5. เพื่อป้องกันพลังสร้างสรรค์ในการพัฒนาสังคมไทยให้เติบโตอย่างมั่นคง ยังยืน อยู่รอดได้ในทุกสถานการณ์ แม้ว่าจะเกิดความผันผวนทางเศรษกิจในอนาคตหลักในการดำเนินงาน
การขับเคลื่อนการทำงานตลอดทั้งโครงการ ต้องยึดหลักการร่วมกันดังนี้
1. น้อมนำพระราชดำริ “ปรัชญาพอเพียง” มาเป็นแนวปฏิบัติ
2. ดำเนินงานด้วยความต้องการของชาวบ้านและชุมชนเป็นหลัก
3. การมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทุกขั้นตอน
4. ไม่เน้นเงินนำหน้า เน้นสร้างความรู้ให้เกิดในชุมชนและยั่งยืน
5. สรุปเป็นองค์ความรู้ของชุมชนร่วมกับ กลุ่ม ปตท. และเครือข่าย
84 ตำบลมาจากไหน
การคัดเลือกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. จากหมู่บ้าน ปตท. เครือข่ายรางวัลลูกโลกสีเขียวชุมชนใกล้หน่วยงาน ปตท. และกลุ่ม ปตท. เครือข่ายประชาสังคม สวทช. ฯลฯ
2. เปิดรับสมัครด้วยความสมัครใจของแต่ละตำบลโดยต้องผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการที่ปรึกษาที่ ปตทง จัดตั้งขึ้น โดยแต่ละตำบลที่เข้าร่วมโครงการต้องมีหมู่บ้านมากกว่าร้อยละ 50 พร้อมเข้าร่วมกิจกรรมหรือมีผู้นำชุมชนที่พร้อมจะเข้าร่วม หรือมีชุมชนสนับมนุนและมีปัจจัยเงื่อนไขที่เหมาะสมตามที่กำหนด
เป้าหมายของโครงการ
           ปตท. และกลุ่มภาคีเครือข่ายได้ศึกษาเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ กับชุมชนเพื่อกำหนดเป็นเป้าหมายและแนวทางในการดำเนินงานเพื่อให้ทุกขั้นตอนสอดคล้องและไปในทิศทางเดียวกัน โดยได้เป้าหมายร่วมกัน 8 เป้าหมาย เพื่อสร้างเป็นองค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง





ประชุม การอนุรักษ์พันธุ์พืชท้องถิ่น ลุ่มน้ำแม่สลอง แม่น้ำจัน แม่น้ำคำ

ความหลากหลายทางพันธุ์พืชลุ่มสายน้ำ อำเภอแม่จันที่ทุกคนมองข้ามและกำลังจะลืม

         ลุ่มน้ำแม่สลอง แม่น้ำจัน แม่น้ำคำ ล้วนเป็นสายใยเดียวกัน น้ำแม่สลองจะไหลไปรวมกับแม่น้ำจัน และไปรวมกับแม่น้ำคำที่อำเภอเชียงแสน (พื้นที่ลุ่มน้ำแม่คำ) แล้วไหลไปลงแม่น้ำโขงที่บ้านสบคำ อ.เชียงแสน ความหลากหลายทางพันธุ์พืชท้องถิ่นที่อุดมสมบูรณ์ บนอานาจักรที่รุ่งเรืองมาในอดีต(เมืองโยนกนครชัยบุรีศรีช้างแส่น) ปัจจุบันคงเหลือแต่ชื่อ(ข้าวดอหมาตื่น) ความประพับใจ(ข้าวเหนียวเขี่ยวงู ข้าวซิวแม่จัน)
        กลุ่มอนุรักษ์พันพืชท้องถิ่นแม่จันจึงเกิดขึ้น โดยมีชมรมผู้สูงอายุอำเภอแม่จัน กลุ่มผู้ใช้น้ำและมูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา(พชภ.) ได้เปิดวงเสวนาเมื่อวันที่ 17 สค. 2553 ที่ผ่านมาในหัวข้อ พันธุ์ข้าวบ้านเฮา ต.ป่าตึง อ.แม่จัน และมีการผลักดันให้เกิดการประชุม การอนุรักษ์พันธุ์พืชท้องถิ่น ลุ่มน้ำแม่สลอง แม่น้ำจัน แม่น้ำคำ ในวันที่ 25 พค.2553 ณ หอประชุม ICT.โรงเรียนบ้านแม่จัน(เชียงแสนประชานุสาสน์) ต.แม่จัน อ.แม่จัน จ.เชียงราย เพื่อจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์พันพืชท้องถิ่นแม่จันและทิศทางในการดำเนินการต่อไป โดยมีนายอภิรักษ์ ศักดิ์สนิท นายอำเภอแม่จัน ให้เกียรติมาเป็นประธาน

ทางกลุ่มผู้ใช้น้ำรับฟังคำชี้แจง เรื่องการทำประปาภูเขาบ้านแสนใหม่

ทางกลุ่มผู้ใช้น้ำจันยื่นหนังสือร้องเรียนถึงนายอำเภอแม่จัน เรื่องการทำประปาภูเขาบ้านแสนใหม่
กลุ่มผู้ใช้น้ำแม่จัน รับฟังคำชี้แจงจากรองนายก อบต.ป่าตึง และพ่อหลวงชัยวัตน์  บ้านสันติสุขเรื่องการนำน้ำประปาภูเขา จากบ้านแสนใหม่(สาขาบ้านสันติสุข)  นำไปใช้ที่บ้านสันติสุข ระยะทางประมาณ 2,500.00 เมตร โดยใช้ท่อ PVC. ขนาด 4”- ½” แต่ผลปรากฏว่าท่อประปา PVC. ทนแรงดันของน้ำไม่ได้(แรงดันน้ำมากเกินไปหรือท่อไม่มีคุณภาพ) เพราะปลายท่อบริเวณนี้น้ำแรงมาก จะทำให้หน้าดินพังทลายจึงได้นำน้ำไปใชในสวนส้มของชาวบ้านชั่วคราว และทางหมู่บ้านได้ทำโครงการของบประมาณเพิมเติม โดยเปลี่ยนเป็น ท่อ GSP. ขณะนี้กำลังดำเนินการ
                ในทีประชุมจึงเสนอให้ ทำการปล่อยน้ำลงในแม่น้ำจันเหมือนเดิม จนกว่าจะได้ท่อ GSP.มาเปลี่ยน

ฟางและตอซังข้าวมีประโยชน์ไม่ควรจะเผาทิ้ง

          เกษตรจังหวัดเชียงราย แนะนำใช้ประโยชน์จากฟางและตอซังข้าวไม่ควรจะเผาทิ้ง
นายสมชาย วงศ์ศรีวิวัฒน์ เกษตรจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า ขอแนะนำให้เกษตรกรและประชาชนใช้ประโยชน์ของการใช้ฟาง และตอซังข้าว ไม่ควรจะเผาทิ้ง นำมาทำให้เกิดประโยชน์ ด้วยการทำเป็นปุ๋ยโดยการไถกลบตอซังและฟางข้าวลงไปในดิน ช่วยในการปรับปรุงคุณภาพของดิน ทำให้ดินมีความโปร่ง ร่วนซุยของดินเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุให้กับดิน ใช้เป็นอาหารสัตว์ ของโค กระบือ ให้นำฟางข้าวสดให้สัตว์กิน ใช้ทำเป็นปุ๋ยคอก ใช้ฟางข้าวนำไปรองคอกสัตว์เมื่อฟางข้าวสลายรวมตัวกับมูลสัตว์ จนกลายเป็นปุ๋ยคอก นำฟางข้าวไปทำปุ๋ยหมัก ด้วยใช้ฟางข้าวไปทำเป็นปุ๋ยหมัก ร่วมกับมูลสัตว์ต่าง ๆ จะกลายเป็นปุ๋ยหมักอย่างดี ใช้ฟางข้าวคลุมดินในการปลูกพืช เพื่อช่วยรักษาความชื้นในดิน ทำให้เมล็ดพืชงอกเร็วขึ้นและแข็งแรง ใช้ตอซังและฟางข้าวเป็นวัสดุสำหรับเพาะเห็ดฟางและใช้ในการก่อสร้าง ให้นำฟางข้าวมาผลิตแผ่นฟางซีเมนต์หรือให้ทำวัสดุมุงหลังคา ดังนั้น ขอให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์จากฟางและตอซังข้าวให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด ไม่ควรจะเผาทิ้ง จะทำให้มีผลกระทบตามมาอย่างมากมาย อาทิเช่น ทำลายสิ่งแวดล้อม เกิดหมอกควัน ทำลายโครงสร้างดินอีกด้วย

ลานวัฒนธรรม

จ่างฟ้อนพันปี ผู้สูงอายบ้านกิ่วพร้าว
อีก้อเยาวชนจากบ้านป่าสักหลวง
ฟ้อนจ้องเจียงฮาย โดยยุวชนบ้านกิ่วพร้าว
ฟ้อนเจิงจากยุวชนบ้านสันหลวง(ฟ้อนเจงตอดแห)
ฟ้อนเล็บจากแม่บ้านป่าบงหลวง นำโดยแม่หลวงพ่อหลวงชาญ บุญยงค์ อย่างนี้ต้องตบมือให้
ยังมีฟ้อนเล็บจากเยาวชนบ้านป่าบงหลวง ร่วม  แจมด้วย ชุดยังใหม่ซิงๆเลย น่าสนับสนุนครับ
จังหวะดีมีลีลาจากชุดกลองหลวง บ้านป่าบงหลวง เยี่ยมจริงๆ เอาแต้ๆเน้อ

ลาบจิ้นหมู(คั้วหมี่)

ลาบๆๆ ถ้าประกวดเขียงหลวง บ้านกิ่งพร้าวกินขาด เอาใจ๋จ่วยเน้อ
ยำๆๆๆ เฮากิ๋นขาด เจื่อมือเต๊อ
กรรมการเริมจิมๆๆ บ่อฮู้ว่าเจ้าแรกหรือเจ้าสุดท้ายเจ้า(ซาวสามเจ้า)อันไหนลำกว่ากั๋น อิดใจ๋ต๋างแต้ 

กิจกรรมในงานประเพณีปี๋ใหม่เมือง ณ สวนสาธารณะหนองมโนราห์

หลากหลายกิจกรรมน่าสนใจ
รับมอบสลุงจากตัวแทนเทศบาลตำบลจันจว้า(สท.วิหก สุริวงค์)











 ตัวแทนผู้สูง พ่อครูวีระ สังห์แสง อวยพรปีใหม่ให้ทุกคนอยู่ดีมีสุขทุกๆท่าน











ปลัดอาวุโสออกนำรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ












นายสมศักดิ์ ทองแสน นายกเทศมนตรีตำบลจันจว้านำตัวแทนข้าราชการ ประชาชนรดน้ำขอพรผู้สูงอายุ

เทศบาลตำบลจันจว้า จัดงานรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ประจำปี ๒๕๕๓

เทศบาลตำบลจันจว้า อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย


จัดงานประเพณีสงกรานต์และรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ประจำปี ๒๕๕๓

วันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ ณ สวนสาธารณะหนองมโนราห์
ผู้สูงอายุมานั่งรวมกัน ร้อนบ้างนิดหน่อย

นายกพร้อมทีมงานกล่าวรายงานการจัดงาน

นายประกอบ ยศเสถียรปลัดอาวุโสอำเภอแม่จัน กล่าวเปิดงานประเพณีปี๋ใหม่เมือง รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ประจำปี ๒๕๕๓ ณ สวนสาธารณะหนองมโนราห์  เทศบาลตำบลจันจว้า

ที่มาของ วิทยุชุมชนโยนกนคร

       จากรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มาตรา 40  กำหนดไว้ในมาตรา 40 ว่า" .... คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุ กระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรการสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ ให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระจัดสรรคลื่นความถี่ตามวรรคหนึ่ง และกำกับดูแลการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ การดำเนินการตามวรรคสองต้องคำนึงประโยชน์ของประชาชน ในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์อื่นรวมทั้งการแข่งขันเสรีอย่าง เป็นธรรม...." โดยจัดสรรให้ภาคประชาชนมีสิทธิใช้สื่อ 20 % ส่วนภาครัฐ 40% และเอกชน 40%        เพื่อให้ประชาชน และชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียง มีศูนย์กลางในการสื่อสารอย่างทั่วถึง ทางคณะผู้ก่อตั้ง ได้รวบรวมกลุ่มองค์กรต่างๆ ในเขตเทศบาลตำบลจันจว้า ประกอบไปด้วย กลุ่ยุวชนและกลุ่มเยาวชน เครือข่ายอาชีพ ศูนย์ถ่ยทอดเทคโนโลยีการเกษตร อาสาสมัครต่างๆและกลุ่มผู้สูงอายุ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้สื่อวิทยุและเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการต่างๆของชุมชน ด้านความบันเทิง การศึกษา ศาสนา ด้านสาธารณสุขตลอดถึงการพัฒนาสังคม โดยนำเอาศักยภาพของกลุ่มต่างๆ ในชุมชน ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนในท้องถิ่นผ่านสื่อวิทยุชุมชน
     เพื่อให้เป็นจริง จึงมีการระดมทุนจากสมาชิกและผู้มีอุปการะคุณที่ให้การสนับสนุน ตั้งแต่ วันที่ 27 ธันวาคม 2547 ณ วัดป่าบงหลวง ต.จันจว้าใต้ จนถึงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2548 ได้เริ่มออกอากาศครั้งแรก บนความถี่ FM.103.50 MHz. และเข้าร่วม โครงการจุดปฏิบัติการเตรียมความพร้อมวิทยุชุมชน ของกรมประชาสัมพันธ์ เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2548

เป้าหมาย
     -.ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลจันจว้า และประชาชนพื้นที่ใก้ลาเคียง
วัถุประสงค์
     - เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ข้อมูลข่าวสาร ของชุมชน
     - เพื่อการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม สังคม และภูมิปัญญาทัองถิ่น
     - เพื่อการอนุรักษ์ พัฒนา ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี
     - เพื่อการกระจายข้อมูข่าวสาร และส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาลกับประชาชน
ขอให้เจริญยิ่งๆขึ้นไป

วิทยุชุมชน โยนกนคร FM.103.50 MHz.

        โยนกนคร เป็นชื่อของมหานครที่รุ่งเรืองในอดีต วันหนึ่งณ วันหนึ่ง ในสมัยของเจ้าไชยชนะ ปี พ.ศ. 996 เหล่าข้าราชบริพารของพระองค์ได้พากันออกล่าสัตว์ป่าตามปกติ และได้พบปลาไหลเผือกขนาดใหญ่ตัวหนึ่งที่แม่น้ำกก มีลำตัวขนาดเท่าต้นตาล จึงได้ช่วยกันทุบตีและจับปลาไหลเผือกตัวนั้นไว้ให้ได้และช่วยกันลากมาถวายแก่เจ้าไชยชนะ ซึ่งเจ้าไชยชนะรู้สึกยินดีและแปลกประหลาดใจที่ได้เห็นปลาตัวใหญ่ขนาดนั้น พระองค์จึงทรงสั่งให้ฆ่าแล้วชำแหละเนื้อแจกจ่ายกันกินโดยทั่วทั้งเมืองในเย็นวันนั้นในส่วนของเจ้าไชยชนะก็ได้ร่วมเสวยกับเหล่าข้าราชบริพารที่ใกล้ชิดภายในตำหนักของพระองค์นครโยนกถึงกาลวิบัติ  ล่มสลายกลายเป็นหนองน้ำ เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อนก็บังเกิดขึ้น
        หลังจากที่เจ้าไชยชนะและเหล่าบริพารได้ร่วมกันทานเนื้อปลาไหลเผือกยักษ์อย่างเอร็ดอร่อยและสนุกสนานภายในตำหนัก ท้องฟ้าเริ่มมืดฟ้ามัวฝน เกิดเสียงฟ้าอืดดอยคราง เป็นสัญญานแห่งความหายนะมาเยือน โดยตอนปฐมยามของคืนนั้นก็เกิดฝนตกหนัก พายุแรง ฟ้าผ่า ฟ้าคะนอง เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน เป็นที่น่าหวาดกลัวยิ่งนัก ผ่อนเบาลงเป็นบางครั้ง
        พอถึงมัชฌิมยาม เหตุการณ์ก็เริ่มทวีความรุนแรงขึ้นกว่าเดิม ครั้นพอถึงปัจฉิมยามเหตุการณ์ทุกอย่างก็หาได้ทุเลาลงไม่ ฟ้าส่งประกาย ภูดอยทั้งหลายส่งเสียงลั่นสั่นสะเทือนไปทั่วทั้งนคร
เกิดการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติครั้งยิ่งใหญ่ นำความหายนะมาสู่นครโยนก จนทำให้นครโยนกล่มสลาย กลายเป็นหนองน้ำไปในชั่วพริบตา ซึ่งหลักฐานต่าง ๆ ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ทุกวันนี้ (เหลือแต่ บ้านแม่หม้าย ที่ชาวบ้านไม่ให้กินเนื้อปลาไหล ปัจจุบันเป็นวัด"ทศพลญาน" หรึอวัด ปางมะหน่อ บ้านห้วยน้ำราก ตำบลจันจว้า อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ซึ่งยังมีรายระเอียดอีกมากมายติดตามประวัติได้ที่

http://203.172.208.187/jjw2010/index.php?name=page&file=page&op=janjawacenter